พบหนามบนลิ้นแมวมีโครงสร้างพิเศษ
นักวิทยาศาสตร์พบว่าหนามเล็ก ๆ ที่ทำให้ลิ้นแมวสากกระด้างจนสามารถเลียทำความสะอาดขนได้ดีนั้น มีโครงสร้างแตกต่างไปจากที่เคยคาดกันเอาไว้มาก ซึ่งลักษณะพิเศษนี้จะถูกนำไปเป็นต้นแบบประดิษฐ์แปรงอเนกประสงค์ ที่สามารถใช้ทำความสะอาดพรม หรือขจัดสารก่อภูมิแพ้ในขนแมวได้ ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (จอร์เจียเทค) ของสหรัฐฯ ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร PNAS โดยระบุว่าได้ตรวจสอบโครงสร้างและการทำงานของปุ่มลิ้น (Papillae) ที่มีลักษณะคล้ายหนามบนลิ้นแมวอย่างละเอียด ด้วยการใช้กล้องวิดีโอความเร็วสูงและเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (ซีทีสแกน) จนพบว่าหนามดังกล่าวมีลักษณะเป็นท่อกลวงและมีปลายคล้ายช้อนตัก ไม่ได้เป็นทรงกรวยทึบอย่างที่เคยคิดกันแต่อย่างใด หนามบนลิ้นแมวนั้นเป็นเคราติน (Keratin) ซึ่งก็คือโปรตีนชนิดหนึ่ง โดยท่อกลวงภายในหนามจะดูดเอาน้ำลายแมวขึ้นมาจากผิวลิ้นได้ 4.1 ไมโครลิตรในแต่ละครั้ง หรือราว 1 ใน 10 ของยาหยอดตา 1 หยด ซึ่งจะทำให้กระจายน้ำลายแมวลงบนขนได้มากเป็นพิเศษ ช่วยระบายความร้อนได้รวดเร็วและทำความสะอาดได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ทีมผู้วิจัยยังตรวจสอบลักษณะของหนามบนลิ้นของสัตว์ตระกูลแมวหลากหลายชนิด ตั้งแต่แมวบ้านไปจนถึงแมวป่า เสือ สิงโต และเสือดาวหิมะ ทำให้พบว่าสัตว์จำพวกแมวและเสือทุกชนิด มีขนาดและความยาวของหนามบนลิ้นเท่ากันหมด ไม่ว่าจะมีขนาดลำตัวและความยาวของขนมากน้อยเท่าใดก็ตาม “ในเวลาที่แมวเลียขน หนามบนลิ้นที่เป็นเสมือนแปรงจะแทรกลงไปในระหว่างเส้นขน ทำให้ทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง การที่แมวและเสือทุกชนิดมีขนาดของหนามบนลิ้นเท่ากัน แสดงว่าเป็นขนาดที่ธรรมชาติออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างดีที่สุดสำหรับพวกมันแล้ว” ดร. อเล็กซิส โนเอล หนึ่งในทีมผู้วิจัยกล่าว “แมวจึงสะอาดอยู่เสมอและไม่มีกลิ่นเหม็นอย่างในสุนัข เว้นแต่แมวชนิดเดียวคือแมวเปอร์เซีย
Read more