นักดาราศาสตร์พบหลุมอุกกาบาตใหม่บนดวงจันทร์

นักดาราศาสตร์พบหลุมอุกกาบาตใหม่บนดวงจันทร์

Weekly News

ทีมนักวิจัยได้พัฒนา Lyman-Alpha Mapping Project (LAMP) เป็นเครื่องตรวจวัดอัลตราไวโอเล็ต (ในช่วงไลแมน-อัลฟา) บนยานอวกาศ Lunar Reconnaissance Orbiter (LRO) ที่โคจรอยู่รอบดวงจันทร์ ซึ่ง LAMP ได้ทำการสังเกตส่วนมืดคล้ำและถ่ายภาพส่วนที่อยู่ในเงาถาวรของหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ ข้อมูลจาก LAMP และอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณวิทยุ (Miniature Radio-Frequency instrument,Mini-RF) ของ LRO ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำแผนที่บริเวณพื้นหลุมอุกกาบาตที่มีสีคล้ำใกล้กับขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้ หลุมอุกกาบาตนี้มีความยากในการศึกษาเพราะแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ได้ส่องไปหาบริเวณหลุมโดยตรง อย่างไรก็ตามความแตกต่างในการสะท้อนแสง(albedo)เพียงเล็กน้อยที่ตรวจวัดได้โดย LAMP ช่วยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบและประมาณการอายุของหลุมอุกกาบาตทั้งสองได้ การชนกันของวัตถุในอวกาศมีความสำคัญกับการก่อตัวของระบบสุริยะ รวมถึงการก่อตัวของดวงจันทร์ด้วย หลุมอุกกาบาตบอกถึงเรื่องราวการชนกันระหว่างวัตถุในระบบสุริยะได้  หลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์เป็นเหมือนบันทึกการชนในอดีต ดังนั้นการระบุช่วงเวลาที่เกิดการชนจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการเคลื่อนที่ของวัตถุในระบบสุริยะได้ทั้งหมด หลุมอุกกาบาตที่อายุน้อย(ระดับล้านปี)จะเติมเต็มข้อมูลเกี่ยวกับความถี่ของการชนที่เกิดขึ้น หลุมอุกกาบาตอาจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ฟุต หรือกว้างหลายกิโลเมตร ในระหว่างที่เกิดการชนพื้นผิวดวงจันทร์จะฟุ้งกระจายขึ้นไปก่อนที่จะตกลงบริเวณรอบ ๆ หลุม โดยฝุ่นบริเวณหลุมอุกกาบาตที่เกิดใหม่จะมีเป็นสีอ่อนและหลุมอุกกาบาตจะมีลักษณะขรุขระเพราะเต็มไปด้วยเศษซากวัตถุชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่หลงเหลือจากการชน อีกหลายล้านปีข้างหน้าพื้นที่ขรุขระเหล่านี้จะถูกฝุ่นค่อยๆปกคลุมจนทำให้เรียบขึ้นเรื่อยๆรวมถึงผิวสีอ่อนก็จะกลายเป็นสีคล้ำมากขึ้น ทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่าพื้นที่รอบๆหลุมอุกกาบาตทั้งสองมีสีอ่อนและขรุขระกว่าภูมิประเทศบริเวณอื่นๆ หลุมอุกกาบาตหลุมหนึ่งมีอายุ 16 ล้านปี และอีกหลุมมีฝุ่นสีอ่อนกระจายอยู่จางๆ แสดงให้เห็นว่ามีอายุไม่น้อยกว่า 75 ล้านปี ส่วนภาพซ้าย ได้จากการใช้ laser

Read more
“แมลงก้นกระดก” พิษร้ายแรง ระบาดช่วงหน้าฝน

“แมลงก้นกระดก” พิษร้ายแรง ระบาดช่วงหน้าฝน

Weekly News

ในโลกออนไลน์มีสมาชิกเว็บไซต์พันทิปรายหนึ่ง ได้โพสเตือนให้ประชาชนระมัดระวังแมลงตัวเล็กแต่พิษร้ายแรงอย่าง “แมลงก้นกระดก ”ลักษณะเป็นด้วงขนาดเล็ก ขนาด 6-8 มม. หรือ ไม่เกิน 1 ซม. ลำตัวเรียวยาว พบมากในช่วงฤดูฝนโดยระบุว่า ช่วงนี้มีผู้ป่วยเดินทางมารักษาอาการจากการถูกพิษของแมลงชนิดนี้เป็นจำนวนมาก โดยรายล่าสุดเป็นเด็กน้อยคนหนึ่ง ได้ถูกพิษของแมลงชนิดนี้หลายที่ มีอาการเป็นแผลพุพองขนาดใหญ่ทั้งแผ่นหลังและก้น โดยช่วงแรกคุณแม่นึกว่าน้องแพ้ฝุ่น จึงปล่อยไว้หลายวัน แผลจึงลุกลาม ส่วนอีกรายเป็นเด็กน้อยโดนกัดเข้าที่ใบหน้า แต่โชคดีพามาหาหมอได้เร็วอาการจึงยังไม่ลุกลาม แผลที่ถูกปล่อยไว้หลายวันจนลุกลาม สำหรับแมลงก้นกระดก มักพบบ่อยในช่วงฤดูฝน มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร พบได้ตลอดทั้งปีแต่จะเจอมากในช่วงฤดูฝน พบเจอได้ทั้งในป่าในเมืองและแมลงชนิดนี้ชอบไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นไม่ควรเปิดไฟนอน เพราะแสงไฟจะล่อแมลงเข้ามาและควรทำความสะอาดผ้าปูที่นอนเป็นประจำ รวมทั้งตรวจตราตามฝาผนังและเพดานใกล้หลอดไฟ ลักษณะของแมลงก้นกดก(Rove beetles)หรือที่เรียกว่า แมลงน้ำกรด ส่วนผื่นที่เกิดจากแมลงชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการกัดหรือต่อยของตัวแมลง แต่เกิดจากการไปโดนหรือบี้ ทำให้สารเคมีที่อยู่ภายในตัวแมลงที่ชื่อว่า “เพเดอริน” สัมผัสกับผิวหนัง ทำให้มีอาการแสบ ไหม้ ตามจุดที่สัมผัสโดน อาจมีลักษณะรอยแผลเป็นเส้นทำให้คิดว่าเป็นงูสวัดหรือเริม หรือหากสัมผัสถูกดวงตาอาจติดเชื้อจนมีผลต่อการมองเห็นได้ ดังนั้นเมื่อพบแมลงชนิดนี้ห้ามบี้ตัวแมลงเด็ดขาด ให้ใช้วิธีปัดออก สำหรับวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อถูกพิษของแมลงก้นกระดกนั้น นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง แนะนำให้ปฏิบัติตามดังนี้ 1. ให้ล้างผิวหนังด้วยน้ำเปล่าทันทีตามด้วยสบู่หลายๆครั้ง

Read more
NASA พบดาวเคราะห์น้อย โคจรเป็นคู่หูใหม่ของโลก

NASA พบดาวเคราะห์น้อย โคจรเป็นคู่หูใหม่ของโลก

Weekly News

ต้อนรับเพื่อนใหม่กันหน่อย NASA แถลงพบดาวเคราะห์น้อย 2016 HO3 โคจรรอบดวงอาทิตย์และรอบโลกของเรา เป็นดาวกึ่งบริวารดวงใหม่อีกหนึ่งดวง และจะอยู่เคียงข้างโลกของเราไปนานอีกหลายร้อยปี               วันที่ 15 มิถุนายน 2559 องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ NASA  เปิดเผยข่าวเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยชื่อ 2016 HO3 ที่ค้นพบเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยกล้องโทรทรรศน์สำรวจดาวเคราะห์น้อย Pan-STARRS 1 ของมหาวิทยาลัยสถาบันดาราศาสตร์ฮาวาย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากทาง NASA NASA เผยว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ 2016 HO3 นั้นยังไม่ได้รับการระบุที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะมีขนาดราว ๆ 40-300 เมตร มันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีวงโคจรสัมพันธ์กับของโลกด้วย โดยระยะห่างของระหว่างเคราะห์น้อย 2016 HO3 กับโลกอยู่ที่ประมาณ 14 ล้านกิโลเมตร ถึง 37 ล้านกิโลเมตร หรือราว 38 ถึง 100 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์              สาเหตุที่ระยะห่างระหว่าง 2016 HO3 และโลกไม่แน่นอนนั้น เนื่องมาจากเมื่อดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนตัวไกลออกไป ก็จะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงกลับมา

Read more
“3 เก็บ” ป้องกัน 3 โรคจากยุงลาย

“3 เก็บ” ป้องกัน 3 โรคจากยุงลาย

Weekly News

กรมควบคุมโรค เชิญชวนทุกภาคส่วนใช้มาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค จากยุงลาย นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนของทุกปี จะเป็นฤดูที่มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายสูงสุด เนื่องจากฝนที่ตกมาทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้จำนวนยุงลายเพิ่มมากกว่าช่วงอื่นๆ ของปี ดังนั้นโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่แม้ว่าปัจจุบันจะมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ยังคงวางใจไม่ได้ต้องดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมโรคอย่างเข้มข้นต่อไป จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 29 พฤษภาคม 2559 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ 18,044 ราย เสียชีวิต 15 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร ระยอง แม่ฮ่องสอน ภูเก็ต และตราด โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนักเรียน คิดเป็นร้อยละ

Read more
ยานอวกาศจูโนใกล้จะถึงดาวพฤหัสแล้ว

ยานอวกาศจูโนใกล้จะถึงดาวพฤหัสแล้ว

Weekly News

    อีกไม่กี่วัน ยานอวกาศจูโนจะเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัสฯแล้ว ต้นเดือนมิถุนายน 2559 ยานจูโนเริ่มรับส่งข้อมูลจากโลกอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทีมงานสามารถรับรู้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นกับยานได้ทันท่วงที กลางเดือนมิถุนายน 2559 ส่วนที่คอยป้องกันเครื่องยนต์หลักจากการพุ่งขนของเศษฝุ่นเล็กๆที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถูกเปิดออก คำสั่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจุดระเบิดจรวดถูกส่งไปสู่ยานอวกาศ วันที่ 21 มิถุนายน 2559 กล้องถ่ายรูป JunoCam ถ่ายรูปดาวพฤหัสฯและดวงจันทร์กาลิเลียนที่ระยะห่าง 6.8 ล้านกิโลเมตร กล้องถ่ายรูปตัวนี้นอกจากจะช่วยในการเก็บข้อมูลแล้วยังเป็นอุปกรณ์ที่ดีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ความรู้สู่คนทั่วไปให้มาร่วมลุ้นในภารกิจของยานลำนี้ได้ด้วย ในวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ก่อนการจุดระเบิด ยานอวกาศจะทำการปรับความดันจนพร้อมและเหมาะสมกับการจุดระเบิด ซึ่งจากนี้ไปอุปกรณ์ใดก็ตามที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัสฯจะถูกปิด ยานอวกาศจูโนจะเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัสฯทางขั้วเหนือของดาวพฤหัสฯซึ่งนี่ถือเป็นความพิเศษอย่างหนึ่ง เพราะยานอวกาศก่อนหน้าล้วนเข้าใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรและละติจูดต่ำๆเท่านั้น แต่ในครั้งนี้จะมีการเก็บข้อมูลและถ่ายรูปความละเอียดสูงที่ขั้วดาวพฤหัสฯในระยะใกล้กว่าที่เคยมีมา ซึ่งภาพต่างๆของยานจูโนจะถูกส่งกลับมาวิเคราะห์และผ่านประบวนการปรับแต่งแล้วเผยแพร่ในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน 2559 ที่มา:http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2571-juno-spacecraft-close-to-jupitor  

Read more
กล้อง Mirorrless Medium Format ตัวแรกของโลก

กล้อง Mirorrless Medium Format ตัวแรกของโลก

Weekly News

เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปที่เรียบร้อยแล้วกับกล้อง Medium Format ที่เป็นลักษณะของ Mirorless หรือเรียกง่ายๆว่าไม่มีกระจก สะท้อน ตัวแรกของโลก ชึ่งก็ได้เป็นของ Hasselblad รุ่น X1D โดย Hasselblad X1D เป็นกล้องที่มีความละเอียดถึง 50 MP และใช้เซ็นเซอร์ของ Sony มีดีไซน์ที่แปลกใหม่ สวยเลยทีเดียว   สเปค Hasselblad X1D เซ็นเซอร์ขนาด Mediem Format (ใช้ของ Sony) ความละเอียด 50 MP. ISO 100-25,600 Viewfinder 2.36MP XGA หน้าจอ 3 นิ้ว 920K-dot จอสัมผัสได้ นำ้หนัก 725g รวมแบตเตอรี่ รองรับ Wifi และ GPS มีช่องใส่การ์ดสองช่อง รองรับการเสียบไมโครโฟน สำหรับราคาคาดการณ์กล้อง Hasselblad X1D มีราคาอยู่ที่ $8995 หรือประมาณ 320,000

Read more
ก้มหน้าเล่นมือถือ เสี่ยงกระดูกต้นคอรับน้ำหนักมากขึ้น 6 เท่า

ก้มหน้าเล่นมือถือ เสี่ยงกระดูกต้นคอรับน้ำหนักมากขึ้น 6 เท่า

Weekly News

ก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตนาน เสี่ยงต่ออาการ ปวดศีรษะ เหตุกล้ามเนื้อปวดเกร็งจากการก้มหน้านาน ๆ แถมกระดูกต้นคอยังต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติถึง 6 เท่า ในยุคสมัยที่การใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมาก ที่แต่ละคนต่างก็ก้มหน้าก้มตาใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้กันตลอดวัน เชื่อว่าหลายคนคงอาจไม่รู้ตัวเลยว่า พฤติกรรมดังกล่าวอาจนำมาซึ่งอาการผิดปกติอย่าง การปวดศีรษะ เนื่องจากการอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน จนส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบประสาทและกระดูกต้นคอ โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ร.ท. นพ.กีรติกร ว่องไววาณิชย์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย ซึ่งการใช้งานสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ ที่มากเกินไปหรือใช้งานอย่างไม่ถูกท่านั้น ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้เช่นกัน เนื่องจากการก้มหน้าเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอเมื่อยล้า หรือเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อขึ้นมาเป็นก้อน อาการปวดที่กล้ามเนื้อคอนี้อาจส่งความปวดไปยังส่วนอื่นที่ใกล้เคียง เช่น ท้ายทอย ขมับ รอบกระบอกตา หน้าผาก และส่วนอื่น ๆ โดยเป็นรู้จักกันดีในชื่อ กลุ่มอาการปวดจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Myofascial pain syndrome (MFS)) นอกจากนี้ การก้มหน้ายังทำให้กระดูกต้นคอรับน้ำหนักมากกว่าปกติถึง 6 เท่า

Read more
แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของเส้นเสียงและกล่องเสียง

แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของเส้นเสียงและกล่องเสียง

Weekly News

ในที่สุดก็เป็นครั้งแรกที่สามารถทำการจำลองได้ว่าเส้นเสียงสามารถสร้างโน๊ตที่ต่ำและสูงสำหรับการร้องเพลงได้อย่างไร แบบจำลองแสดงให้เห็นถึงชั้นของเนื้อเยื่อภายในเส้นเสียง ซึ่งตอบสนองต่อการยืดตัวโดยกล้ามเนื้อของกล่องเสียง ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่รู้จักกันดีอยู่แล้วที่ทำให้พวกเราสามารถร้องเพลงในระดับเสียงที่แตกต่างกันได้ “ในสัตว์และมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ คุณไม่สามารถศึกษาเส้นเสีย และสำรวจเนื้อเยื่อของมันว่ามันประพฤติตัวอย่างไรได้ ดังนั้นพวกเราจึงจำลองเส้นเสียงขึ้นมา” ผู้เขียนงานวิจัยร่วม ดอกเตอร์ Tobias Riede จาก Midwestern University ใน Arizona กล่าว “แม้ว่าเราจะรู้อยู่แล้วมาตั้งแต่ปี 1970 ว่าเส้นเสียงนั้นประกอบขึ้นด้วยชั้นของเนื้อเยื่อ แต่หน้าที่ของมันนั้นยากที่จะทำการศึกษา” เขากล่าว ดอกเตอร์ Riede และทีมวิจัยของเขาได้พัฒนาระบบจำลองคอมพิวเตอร์สำหรับเส้นเสียงและทำการจำลองแบบจำลองกว่าล้านแบบเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างของเส้นเสียงที่มีความซับซ้อนว่าสามารถสร้างระดับเสียงในช่วงกว้างได้อย่างไร พวกเขาพบว่า เมื่อเส้นเสียงถูกยืดออกโดยกล้ามเนื้อของกล่องเสียง บางส่วนของชั้นเนื้อเยื่อจะเริ่มแข็งและหยุดการสั่น และปล่อยให้ชั้นที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าเกิดการสั่นและก่อให้เกิดเสียง ยิ่งทำการยืดมากเท่าไหร่ จำนวนของชั้นเนื้อเยื่อที่มีความแน่นจะมากขึ้น และชั้นเนื้อเยื่อที่เกิดการสั่นจะน้อยลง ซึ่งส่งผลให้เส้นเสียงนั้นบางลงและทำให้เกิดเสียงที่อยู่ในช่วงเสียงระดับสูง นักวิจัยค้นพบว่า แบบจำลองสามารถช่วยอธิบายได้ว่าทำไมสัตว์อื่นเช่น เสือ ลิงวอก หนูและกวางถึงสามารถสร้างช่วงของเสียงที่แตกต่างกันออกไปได้ การค้นพบในครั้งนี้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ PLoS Computational Biology ในขณะเดียวกัน ช่วงของเสียงในแต่ละบุคคลนั้นเกิดขึ้นมาจากพันธุกรรมด้วย การศึกษาแนะว่า การออกกำลังเสียงสามารถที่จะช่วยขยายและรักษาระดับของเสียงได้ “กรรมพันธุ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย ดังนั้นไม่ใช่ทุกคนสามารถที่จะเป็น Joan Sutherland ได้” ดอกเตอร์ Riede กล่าว

Read more
Samsung SUHD TV จอโค้งไซส์ใหญ่ ภาพคมชัดสมจริง

Samsung SUHD TV จอโค้งไซส์ใหญ่ ภาพคมชัดสมจริง

Weekly News

Samsung เปิดตัว SUHD TV รุ่น KS9000 พลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการทีวีด้วย เทคโนโลยีล่าสุด ควอนตัมดอท (Quantum Dot) แสดงสีได้มากถึง 1 พันล้านสีอย่างละเอียด ให้มิติความลึกของภาพเสมือนจริง ไม่ว่าจะรับชมในสภาพแสงใด ทั้งยังสามารถแสดงผลภาพด้วยค่าความสว่างแบบ HDR ขั้นต่ำที่ 1,000 นิต ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตภาพยนตร์ชั้นนำจากฮอลลีวู้ด อย่างสตูดิโอ ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ กำหนดไว้ ให้อรรถรสสูงสุดในการรับชมภาพยนตร์ โดยเทคโนโลยีนี้จะทำให้ผู้ชมมองเห็นความต่างของสีโทนมืดและสีโทนสว่างได้ชัดเจนอย่างที่สุด นอกจากนี้ยังมี เทคโนโลยีอัลตร้าแบล็ก (Ultra Black Technology) ที่ถือกำเนิดจากงานสำรวจที่พบว่าพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ดูทีวีในห้องที่เปิดไฟ เทคโนโลยีนี้จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดแสงที่สะท้อนบนหน้าจอ. นอกจากนี้ ซัมซุง เอสยูเอชดี ทีวี ยังมีดีไซน์ที่โดดเด่นด้วยการผสมผสานสุดยอดการออกแบบอันโค้งมนที่เป็นผลงานทางวิศวกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ด้วยการลดขอบทีวีให้บางที่สุดและลดทอนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ภายนอกที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อรังสรรค์ดีไซน์ที่งดงามไร้ที่ติ 360 องศา. Samsung SUHD TV ปรับโฉม สมาร์ท ฮับ (Smart Hub) ใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้น สามารถเข้าถึงรายการทีวีหรือภาพยนตร์เรื่องโปรดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เชื่อมต่อคอนเทนต์จากสมาร์ทโฟนได้ง่ายดายผ่านแอพพลิเคชั่น Smart View

Read more
นักวิทย์พบอะตอมออกซิเจนในบรรยากาศดาวอังคาร

นักวิทย์พบอะตอมออกซิเจนในบรรยากาศดาวอังคาร

Weekly News

  เครื่องตรวจวัดรังสีบนกล้องโทรทรรศน์ Stratospheric Observatory for Infrared Astronomy (SOFIA) ตรวจพบอะตอมออกซิเจนในชั้นบรรยากาศดาวอังคารได้เป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี อะตอมที่ค้นพบนี้อยู่ในบรรยากาศชั้นบนของดาวอังคาร (ชั้นมีโซสเฟียร์)

 อะตอมออกซิเจนส่งผลต่อแก๊สอื่นๆในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้ ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เพิ่งตรวจพบปริมาณอะตอมออกซิเจนได้เพียงครึ่งหนึ่งจากที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศดาวอังคาร โดยนักวิทยาศาสตร์พยายามใช้กล้องโทรทรรศน์ SOFIA ศึกษาการเปลี่ยนแปลงนี้ต่อไป  เพื่อช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ก่อนหน้านี้ภารกิจไวกิ้งและมาริเนอร์ทำการตรวจวัดอะตอมออกซิเจนไว้เมื่อปี 1970 ส่วนการสังเกตการณ์ล่าสุดโดยกล้องโทรทรรศน์ SOFIA นั้นติดไปกับเครื่องบินที่ความสูง 11,000 เมตร – 14,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งที่ระดับความสูงนี้กล้องโทรทรรศน์จะอยู่สูงกว่าชั้นบรรยากาศโลกที่ดูดกลืนรังสีอินฟาเรด โดยเครื่องตรวจวัดนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถแยกออกซิเจนในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารจากออกซิเจนในชั้นบรรยากาศของโลกได้เป็นอย่างดี ที่มา-http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2530-atomic-oxygen-in-martian-atmosphere    

Read more

Rate Us

Rate our Website !!

Links

SDalumni PTAD St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-652-7477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School