ค้นพบ 3 ดาวเคราะห์ใหม่ขนาดคล้ายโลก ลุ้นอาจมีสิ่งมีชีวิต

ค้นพบ 3 ดาวเคราะห์ใหม่ขนาดคล้ายโลก ลุ้นอาจมีสิ่งมีชีวิต

Weekly News

    มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในเมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯได้เปิดเผยการค้นพบดาวเคราะห์โคจรในระบบดาวแคระขนาดเล็กเป็นครั้งแรก โดยระบบดาวนี้ห่างจากระบบสุริยะไปเพียงแค่ 40 ปีแสง ดาวเคราะห์ในระบบทั้ง 3 ดวงเป็นดาวเคราะห์ที่ขนาดพอ ๆ กับโลก โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้ ลุ้นอาจมีสิ่งมีชีวิต           รายงานระบุว่า ทีมนักดาราฟิสิกส์นานาชาติ รวมถึงนักดาราฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ได้เผยว่า ดาวเคราะห์ขนาดพอ ๆ กับโลกทั้ง 3 ดวงที่ค้นพบนี้ โคจรรอบดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระขนาดเล็ก ชื่อ 2MASS J23062928-0502285 หรือเรียกง่าย ๆ ว่า TRAPPIST-1 อยู่ห่างจากระบบสุริยะเพียง 40 ปีแสง ซึ่งนับว่าเป็นระบบดาวเพื่อนบ้านใกล้เคียงระบบสุริยะ และสิ่งที่พวกเขาได้ค้นพบนั้นน่าตื่นเต้นจริง ๆ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการค้นพบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ขนาดเล็กแบบนี้มาก่อน แถมดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงที่พบ ล้วนอยู่ในเขตอาศัยได้ ไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป ไม่แน่ว่าอาจจะพบสิ่งมีชีวิตที่นั่นจากการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่  นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงมีขนาดใกล้เคียงกับโลก

Read more
ปลาดิบซูชิ-ซาซิมิ เสี่ยงทำท้องร่วง-อหิวาตกโรค

ปลาดิบซูชิ-ซาซิมิ เสี่ยงทำท้องร่วง-อหิวาตกโรค

Weekly News

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือน ขาหม่ำปลาดิบ โดยเฉพาะซูชิหรือซาซิมิ จากร้านที่ไม่ได้มาตรฐานความสะอาด อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ วิบริโอ อาจก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง บิด และอหิวาตกโรค วันที่ 30 มกราคม 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การรับประทานปลาดิบในเมนูอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะในซูชิหรือซาซิมิ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ วิบริโอ ที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง บิด และอหิวาตกโรค หากเลือกรับประทานจากร้านที่ไม่ได้มาตรฐานความสะอาดจริง ๆ โดย นพ.อภิชัย ระบุเพิ่มเติมว่า ปกติแล้วกระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุนให้ชาวไทยรับประทานอาหารดิบ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและพยาธิต่าง ๆ แต่ในกรณีอาหารญี่ปุ่นนั้นเป็นข้อยกเว้น โดยประชาชนต้องทำความเข้าใจว่า การรับประทานปลาดิบในไทยนั้นเสี่ยงต่อการรับเชื้อต่าง ๆ มากกว่าในญี่ปุ่น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีพยาธิน้อยและเป็นเมืองหนาว ส่วนประเทศไทยนั้นมีอากาศร้อน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นคนไทยต้องตระหนักว่าการรับประทานอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีความเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่ง หากจะรับประทานต้องเลือกร้านที่มีมาตรฐาน สะอาดทั้งในส่วนของสถานที่ คนปรุงอาหารและอุปกรณ์ทำครัว เป็นต้น โดยเฉพาะร้านที่วางขายในกระบะต่าง ๆ นั้นมีความเสี่ยงมาก อาจก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง บิด

Read more
Any ID อนาคตธุรกรรมของคนไทยทุกคน

Any ID อนาคตธุรกรรมของคนไทยทุกคน

Weekly News

  เรื่องเงินอิเล็กทรอนิกส์ดูเหมือนจะใกล้ตัวคนไทยขึ้นมาอีก เมื่อรัฐบาลได้เห็นชอบในแผนระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) เมื่อปลายปี 2558 ทำให้เรื่อง Any ID หรือชื่อไทยคือ “นานานาม” กำลังจะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราแล้ว Any ID คือการนำเลขที่บัตรประชาชนและเบอร์โทรศัพท์มือถือไปผูกกับบัญชีธนาคาร เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกรรม เช่นการรับเงินจากหน่วยงานของรัฐ จะเป็นเรื่องคืนภาษี เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่างๆ นานาก็แจ้งเพียงเลขที่บัตรประชาชน ระบบก็จะเชื่อมโยงกับบัญชีธนาคารให้เรียบร้อย ไม่ต้องวุ่นวายแนบสำเนาหน้าสมุดธนาคารทุกครั้งที่เปลี่ยนหน่วยงาน ลดความยุ่งยากระบบงานรัฐบาล และประชาชนก็จะได้รับเงินเร็วขึ้น เบื้องต้น Any ID ของแต่ละคนจะสามารถผูกกับบัญชีธนาคารได้ 4 บัญชี โดยเชื่อมโยงกับ 1 หมายเลขประจำตัวประชาชน และ 3 เบอร์โทรศัพท์มือถือ (เช่นให้เลขประจำตัวประชาชนเป็นบัญชีเงินออม ส่วนเบอร์มือถือเป็นบัญชีเงินเดือน) ซึ่งต่อไปผู้ใช้เพียงแค่บอกเบอร์มือถือก็ทำธุรกรรม รับเงิน โอนเงินได้ ต่อไปเบอร์มือถือจึงเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น เราคงไม่สามารถเปลี่ยนเบอร์กันบ่อยๆ แล้ว และเบอร์สวยคงขายดีขึ้น (ฮาา) ซึ่งตอนนี้ธนาคารต่างๆ ก็เตรียมระบบลงทะเบียนผูกบัญชีธนาคารกับ Any ID

Read more
ขดลวดนาโนยืดอายุแบตเตอรี่

ขดลวดนาโนยืดอายุแบตเตอรี่

Weekly News

เหล่ามือถือสมาร์ทโฟนนั้นมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ เพราะมันสามารถใช้งานได้นานเท่ากับแบตเตอรี่ที่ฝังอยู่ในตัวมันนั่นเอง หลังจากนั้นประมาณสามปี สิ่งที่อยู่ข้างในของแบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพและนั่นทำให้มันไม่สามารถชาร์จได้อีก และเนื่องจากแบตเตอรี่นั้นมีมูลค่าที่แพงเกินไปที่จะเปลี่ยน คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะซื้อมือถือเครื่องใหม่ แต่งานวิจัยใหม่อาจจะช่วยยืดอายุของแบตเตอรี่เหล่านี้ได้ บางทีอาจจะแก้ปัญหานี้ได้ตลอดกาลเลยก็ได้สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งรวมไปถึงแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ นาฬิกา apple และรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนมากจะใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน สิ่งที่เหมือนกับแบตเตอรี่อื่น ๆ คือ ลิเธียมไอออนประกอบไปด้วยขั้วอิเล็กโทรดสองขั้ว คือ แอโนดที่ถูกกำหนดให้เป็นประจุลบ และมีการปล่อยอิเล็กตรอน แคโทดถูกกำหนดให้เป็นประจุบวกมีหน้าที่ในการเก็บอิเล็กตรอน หลังจากผ่านการชาร์จหลายร้อยครั้ง แบตเตอรี่เหล่านี้จะไม่สามารถทำการเก็บประจุได้ หนึ่งในเหตุผลนั้นคือ บางส่วนของลิเธียมไอออนในแคโทดนั้นได้รั่วออกไปเป็นเวลานับปี นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองที่จะแทนที่ลิเธียมของแคโทดด้วยขดลวดระดับนาโนเมตรที่ทำจากโลหะหลายชนิด ขดลวดระดับนาโนเมตรเป็นเส้นใยที่มีความบางกว่าเส้นผมของมนุษย์ มันต้องใช้ขดลวดระดับนาโนเมตรเป็นจำนวนมากในการสร้างขั้วแคโทด แต่การใช้งานสิ่งนี้อาจจะช่วยให้วิศวกรสร้างแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูงได้ เป็นเรื่องที่โชคร้าย ขดลวดระดับนาโนเมตรเดี่ยว ๆ นั้นไม่ได้ช่วยให้ขั้วแคโทดนั้นมีอายุได้ยาวนานขึ้น เหตุผลก็คือ ในการเก็บพลังงาน ขดลวดระดับนาโนเมตรจะถูกเคลือบด้วยแมงกานีสออกไซด์ เมื่อมีการชาร์จหลาย ๆ ครั้ง ตัวเคลือบเหล่านั้นท้ายที่สุดจะแข็งเปราะและหลุดออกมา ดังนั้นขดลวดระดับนาโนเมตรสามารถชาร์จได้หลายครั้งก็จริง แต่หลังจากนั้นพวกมันก็จะกลายเป็นแบตเตอรี่ที่ไม่สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับแบบลิเธียมปกติ แต่นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์คิดว่า เขาพบหนทางที่จะทำให้ขดลวดระดับนาโนเมตรนั้นมีโครงสร้างที่เปราะได้น้อยลง Mya Le Thai บัณฑิตจาก University of California, Irvine (UC-Irvine) เธอทำการทดลองเกี่ยวกับขั้วแคโทด และแทนที่จะใช้โลหะที่สามารถก่อให้เกิดการผุกร่อนได้ เธอสร้างขดลวดเหล่านี้ด้วยทอง เธอทำการเคลือบขดลวดทองด้วยแมงกานีสออกไซด์ หลังจากนั้นเธอได้เพิ่มอีกหนึ่งขั้นตอน โดยเธอทำการจุ่มขดลวดระดับนาโนเมตรที่เคลือบแล้วเข้าไปในเจลชนิดพิเศษ เจลนี้ทำหน้าที่เป็นสารอิเล็คโทรไลท์ เจลนั้นเต็มไปด้วยไอออนที่ไม่ใช่โลหะ ซึ่งสามารถทำการเคลื่อนย้ายประจุทางไฟฟ้าได้

Read more
แสงสีน้ำเงินช่วยให้สมองตอบสนองเร็ว

แสงสีน้ำเงินช่วยให้สมองตอบสนองเร็ว

Weekly News

งานวิจัยชิ้นล่าสุดพบว่า แสงสีน้ำเงินช่วยเพิ่มกิจกรรมในสมองส่วนหน้า ได้แก่ dorsolateral prefrontal cortex (DLPFC) และ ventrolateral prefrontal cortex (VLPFC) ซึ่งทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น แม้ในช่วงที่ทำการทดสอบนั้นจะไม่ได้รับแสงสีน้ำเงินอยู่ก็ตาม ผลการศึกษาระบุว่า การได้รับแสงสีน้ำเงินเป็นเวลานานประมาณครึ่งชั่วโมง สามารถเพิ่มการตอบสนองของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยวัดจากการทดสอบระบบการรับรู้ของสมอง นอกจากนี้ การที่สมองทำงานดีขึ้นนี้ยังเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการทำงานที่มากขึ้นในสมองกลีบหน้า (prefrontal cortex) “การศึกษาก่อนหน้านี้มักจะศึกษาผลกระทบของแสงในขณะที่ฉายแสงอยู่ตลอดเวลา งานวิจัยของเราได้ต่อยอดโดยแสดงให้เห็นว่าแสงสีน้ำเงินนั้นยังมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นสมองต่อไปอีกนานกว่า 40 นาทีหลังจากหยุดฉายแสง” ดร.แอนนา อัลโคเซย์ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแอริโซนาเผย “เราอาจจะนำแสงสีน้ำเงินมาใช้ในการทำงานหลาย ๆ อย่างได้ เพื่อเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า และทำให้การตัดสินใจเร็วขึ้น เช่น อาจจะใช้ในห้องควบคุมเครื่องบิน ห้องปฏิบัติการ หรือใช้ในทางการทหาร” “นอกจากนี้ อาจจะใช้ในบริเวณที่ไม่มีแสงอาทิตย์อยู่โดยธรรมชาติก็ได้ เช่น ในสถานีอวกาศนานาชาติ สิ่งสำคัญคือ การทดลองของเราได้พบว่า การใช้แสงสีน้ำเงินนั้นช่วยให้ระบบการรับรู้ดีขึ้น แม้เวลาจะผ่านไปนานกว่าครึ่งชั่วโมงหลังจากช่วงเวลาการรับแสงนั้นจบลง นับว่าผลสรุปนี้มีค่ากับการนำไปใช้ในหลาย ๆ สถานการณ์ ในที่ที่แสงสีน้ำเงินไม่ค่อยจะถูกใช้ เช่น ในสนามทดสอบบางอย่าง” บทคัดย่อของงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Sleep แล้ว และจะถูกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมวิจัยเพื่อการนอนหลับ ครั้งที่ 30 โดยในการศึกษาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ใหญ่ 35 คน

Read more
งูหุ่นยนต์ ! สามารถซ่อมเครื่องกลใต้ท้องทะเลลึกได้

งูหุ่นยนต์ ! สามารถซ่อมเครื่องกลใต้ท้องทะเลลึกได้

Weekly News

ถ้าในอนาคตคุณได้เห็น งูเหล็กจักรกล ว่ายวนอยู่ในน้ำ ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะมันจะไม่ทำร้ายคุณอย่างแน่นอน ความจริงแล้วมันคือ งูหุ่นยนต์ หรือ Robotic Snake ที่ถูกสร้างโดยการร่วมมือกันระหว่างบริษัท Eelume และ Kongsberg Maritime , Statoil โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็น หุ่นยนต์ตรวจสอบ เช็คสภาพ รวมถึงซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องจักรที่อยู่ใต้น้ำทะเล เช่น สอดส่องดูแลการซ่อมของเฟืองเกียร์ อุปกรณ์ หรือกลไกที่ชำรุดต่างๆ แต่ที่น่าแปลกของหุ่นยนต์ตัวนี้ก็คือ มันถูกออกแบบกลไกให้เคลื่อนไหวในลักษณะของการเลื้อยได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งทำออกมาได้เหมือนงูเอามากๆ เรียกได้ว่ามองผ่านๆ อาจตกใจนึกว่างูกันเลยทีเดียว และด้วยลักษณะการเลื้อยของมันนั้น ทำให้มันสามารถหมุนพันรอบท่อต่างๆ หรือมุดเข้าซอกมุมเล็กๆ เพื่อตรวจตราและซ่อมแซมกลไกได้อย่างสะดวกและง่ายดาย แม้ว่าขณะนี้หุ่นยนต์งูใต้น้ำยังคงอยู้ในขั้นพัฒนาและทดลองการใช้งาน แต่ก็ได้ถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะได้นำมาใช้งานจริงในอนาคต ซึ่งเทคโนโลยีหุ่นยนต์นี้จะมีผลเป็นอย่างมากต่อกลุ่มบริษัทในวงการอุตสาหกรรมทางทะเล อย่าง การซ่อมเครื่องแท่นขุดเจาะน้ำมัน หรือ ระบบกังหันลมใต้น้ำ และอื่นๆ ที่จะมาช่วยเบาแรงงานของมนุษย์ และลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการซ่อมแซมเครื่องจักรใต้น้ำทะเลได้เป็นอย่างมาก ที่มา : http://news.thaiware.com/7837.html

Read more
Facebook ประกาศฟีเจอร์ภาพ 360 องศาออกมาแล้ว

Facebook ประกาศฟีเจอร์ภาพ 360 องศาออกมาแล้ว

Weekly News

หลังจากที่สักพักใหญ่ ๆ Facebook ได้ประกาศว่าเร็ว ๆ นี้ จะมีการปล่อยฟีเจอร์ใหม่สำหรับการอัพโหลดภาพ 360 องศา Facebook 360 จากเดิมที่อัพโหลดได้แต่วีดีโอ 360 องศาเท่านั้น ถึงจะดูได้แบบ 360 องศา //  ล่าสุดวันนี้ Mark Zuckerberg ได้ออกมาประกาศว่า ฟีเจอร์การดูภาพแบบ 360 องศานั้น จะเปิดใช้งานได้แล้วทั่วโลก ซึ่งจะคล้าย ๆ กับฟีเจอร์วีดีโอ 360 องศาที่มีอยู่แล้ว คือสามารถหมุนไปดูได้รอบ ๆ ตัว และถ้าดูจากอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตต่าง ๆ นั้น ก็ยังสามารถพลิกไป – มา ราวกับว่าเราอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้นจริง ๆ และในการถ่ายภาพ 360 องศาเพื่อมาโพสนั้น สามารถถ่ายได้จากอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือว่าจะเป็นพวกที่ผลิตมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น Ricoh Theta S

Read more
นักวิทยาศาสตร์เริ่มสอนให้หุ่นยนต์รู้จักความเจ็บปวด

นักวิทยาศาสตร์เริ่มสอนให้หุ่นยนต์รู้จักความเจ็บปวด

Weekly News

เรากำลังสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเดินและพูดได้เหมือนกับเรา แต่ตอนนี้เรากำลังจะมอบอีกคุณสมบัติหนึ่งของมนุษย์ที่คุณคาดไม่ถึง: ความรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งถ้าไม่มีอะไรที่มีประโยชน์ อย่างน้อยมันก็คงจะพอมอบโอกาสถ้าหากมันคิดจะโค่นมนุษย์ซักวันหนึ่ง กลุ่มนักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีดังกล่าวคิดว่าหุ่นยนต์ที่ไวต่อความรู้สึกเจ็บนั้นมีค่าควรต่อการพัฒนาเพื่อมันจะได้ปกป้องตัวมันเองและมนุษย์ที่ทำงานร่วมอยู่กับมันให้ปลอดภัยได้ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่มีอันตรายต่อเฟืองหรือมอเตอร์นั้นหุ่นยนต์ก็อาจจะเลือกที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายนั้นได้ “ความเจ็บปวดนั้นเป็นระบบที่คอยปกป้องเรา” Johannes Kuehn ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยจาก Leibniz University of Hannover ในเยอรมันกล่าว “เมื่อเราหลีกเลี่ยงจากสาเหตุของความเจ็บปวด มันก็จะช่วยให้เราไม่เจ็บ” ด้วยความคิดนั้น Kuehn และเพื่อนร่วมงาน Sami Haddadin ได้ร่วมกันพัฒนาสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าเป็น “ระบบประสาทประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์” ขึ้นมา เพื่อที่ระบบดังกล่าวจะทำงานได้ มันจะต้องสามารถรับรู้สาเหตุของความเจ็บปวด (เช่นไฟหรือมีด) และคิดว่าจะต้องทำอย่างไรกับมัน (ปฏิกิริยาตอบสนอง) ซึ่งทั้งสองได้ใจระบบประสาทของมนุษย์เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างระบบดังกล่าวขึ้น พวกเขาได้ทำการทดสอบแนวคิดของพวกเขาโดยการใช้แขนหุ่นยนต์ที่มีเซนเซอร์ที่ปลายนิ้วที่สามารถตรวจจับแรงกดและอุณหภูมิได้ ตัวแขนหุ่นยนต์ยังใช้แผ่นเนื้อเยื่อหุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบตามผิวหนังของมนุษย์เพื่อตัดสินว่ามันควรรู้สึกเจ็บมากแค่ไหนและควรจะตอบสนองอย่างไร ถ้าหากตัวแขนหุ่นยนต์นั้นรู้สึกเจ็บเล็กน้อย มันจะค่อยๆถอนมือช้าๆจนความเจ็บปวดนั้นหยุดลงก่อน แล้วมันจึงกลับไปทำหน้าที่เดิมของมัน สำหรับกรณีความเจ็บปวดรุนแรงนั้นจะทำให้แขนหยุดทำงานจนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลที่เป็นมนุษย์ การทำให้คนปลอดภัยนั้นก็สำคัญเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเราน่าจะเห็นหุ่นยนต์ทำงานร่วมกันมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคตอันใกล้ ซึ่งถ้าหุ่นยนต์ถูกสอนให้รู้จักความเจ็บปวดแล้วล่ะก็ มันก็สามารถที่จะเตือนคนอื่นๆที่อยู่รอบๆได้ “การทำให้หุ่นยนต์เรียนรู้ได้นั้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่ท้าทายที่สุด แต่มันก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจะช่วยทำให้พวกมันฉลาดขึ้น” Fumiya Iida ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์จาก Cambridge University ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยชิ้นนี้กล่าว “การเรียนรู้นั้นก็คือการลองผิดลองถูก ซึ่งเวลาที่เด็กเรียนรู้ว่าการล้มนั้นทำให้รู้สึก เด็กก็จะเรียนรู้ว่าควรจะต้องใช้ความสามารถมากขึ้น” นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิจัยได้ตัดสินใจที่จะทำให้หุ่นยนต์เป็นเหมือนมนุษย์มากขึ้น

Read more
หุ่นยนต์จิ๋วที่สามารถเข้าไปเปลี่ยนการทำงาน DNA

หุ่นยนต์จิ๋วที่สามารถเข้าไปเปลี่ยนการทำงาน DNA

Weekly News

การผสมผสานการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิคส์เข้ากับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต หรือที่เราอาจจะเคยได้ยินในชื่อ Biochip, Biosensor หรือ Gene-based circuits สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการวิทยาศาสตร์ ถ้ายังจำกันได้ในชั่วโมงชีววิทยา เราคงจะรู้ว่าเซลล์ในร่างกายมนุษย์นั้นมีการรับคำสั่งจากสมองผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี ดังนั้นหากเราสามารถเปลี่ยนรูปแบบสัญญาณคลื่นไฟฟ้าได้ เราก็จะควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกายของเราได้เช่นกัน ล่าสุด MIT ได้ทำการทดลองพัฒนาวงจรควบคุมแบบพิเศษที่ผสมผสานการสั่งงานทั้ง Analog chemical data และ Digital computing เข้าไปใน Gene-based circuits ซึ่งเมื่อเราส่งสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปใน Gene-based circuits วงจรควบคุมจะแปลงค่าสัญญาณจาก Analog มาเป็น Digital ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจคำสั่งได้ และแน่นอนว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนคำสั่งให้เซลล์ทำงานตามที่เราต้องการได้ด้วย นี่เป็นความสำเร็จที่สำคัญเป็นอย่างมาก และจะเปลี่ยนอนาคตของมนุษย์ไปอีกก้าวหนึ่ง ลองจินตนาการถึงการรักษาอาการป่วยที่ทุกวันนี้รักษายากหรือแทบจะรักษาไม่ได้ เช่น โรคเบาหวานที่เกิดจากเซลล์ผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อปริมาณของกลูโคส หรือการรักษามะเร็งด้วยการกำจัดเซลล์ร้าย และนี่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวนะครับ นักวิทยาศษสตร์วางแผนที่จะเริ่มทดลองสร้าง Gene circuit ที่ออกแบบมาสำหรับด้านการแพทย์ในปีนี้แล้ว หากไปได้ดีล่ะก็ โรคร้ายที่ทุกวันนี้ไม่สามารถรักษาได้ในปัจจุบัน จะลดจำนวนลงไปเยอะเลยล่ะครับ ที่มา : http://news.thaiware.com/8067.html

Read more
​ทานเกลือน้อยไปไม่ดีต่อสุขภาพ

​ทานเกลือน้อยไปไม่ดีต่อสุขภาพ

Weekly News

แม้การควบคุมการทานเกลือนั้นจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ล่าสุด นักวิจัยพบว่า การทานเกลือน้อยไปอาจจะไม่ได้ดีต่อสุขภาพ และตรงกันข้าม การจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคทางเดินโลหิตมากขึ้น โอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่ทานเกลือในปริมาณเฉลี่ยด้วยซ้ำ อันที่จริงแล้ว คนที่น่าจะเป็นห่วงและต้องลดการบริโภคโซเดียมนั้นคือกลุ่มที่คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีนิสัยชอบทานเกลือเป็นประจำอยู่แล้วต่างหาก นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์ และสถาบันสุขภาพแฮมิลตัน แคนาดา ใช้ข้อมูลจากคน 130,000 คน จาก 49 ประเทศ เจาะจงไปที่การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคโซเดียม (เกลือ) กับการเสียชีวิต การเป็นโรคหัวใจ การเป็นโรคลมชัก เปรียบระหว่างคนที่มีความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตปกติ นักวิจัยพบว่า ไม่ว่าคนจะมีความดันโลหิตสูงหรือปกติ การทานเกลือน้อยไปนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการที่เป็นโรคหัวใจ ลมชัก และการเสียชีวิตมากกว่าการทานเกลือในระดับปกติ “การค้นพบครั้งนี้นับว่าสำคัญกับคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยข้อมูลของเราอาจจะบอกว่าคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจจะต้องลดปริมาณการทานเกลือ แต่ก็ไม่ควรจะลดลงมาจนถึงระดับที่ต่ำเกินไป” รองศาสตราจารย์ แอนดรูว์ เมนเต นักวิจัยเผย “การค้นพบของเราครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญ เพราะว่าอันที่จริงแล้ว การรณรงค์ให้ทานเกลือน้อยลงนั้นควรจะรณรงค์เฉพาะกับกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่บริโภคเกลือในปริมาณสูงอยู่แล้วมากกว่า” ปัจจุบัน คนในประเทศแคนาดาทานเกลือกันอยู่ที่ประมาณ 3.5 ถึง 4 กรัมต่อวัน และมักจะได้รับคำแนะนำให้ลดการทานเกลือลงมาเหลือ 2.3 กรัมต่อไป ซึ่งมีคนทำได้อยู่ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก ก่อนหน้านี้เคยมีการศึกษาพบว่า การได้รับโซเดียมน้อยไปนั้นทำให้ความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจ หรือเสียชีวิตมากขึ้นเมื่อเทียบกับการทานเกลือในปริมาณปกติ แม้ว่าการทานเกลือจะทำให้ความดันเลือดลดลงจริง

Read more

Rate Us

Rate our Website !!

Links

SDalumni PTAD St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-652-7477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School