ข่าววงการไอทีRazer เปิดตัวเกมมิ่งโน้ตบุ๊ค Blade 15

ข่าววงการไอทีRazer เปิดตัวเกมมิ่งโน้ตบุ๊ค Blade 15

Weekly News

เพิ่งเปิดตัวกันไปเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับเกมมิ่งโน้ตบุ๊คดีไซน์เพรียวบางอย่าง Razer Blade 15 ซึ่งคราวนี้เป็นรุ่นปลายปี 2018 โดยได้แรงบันดาลใจมาจากรุ่นก่อนๆ อย่าง Razer Blade Pro มากพอสมควร ทั้ง HDD เก็บข้อมูลตัวที่ 2, AC Adapter ที่เล็กกว่าพกพาง่าย รวมไปถึงพัดลมระบายความร้อนที่ใหญ่กว่าเดิม และราคาเริ่มต้นที่ถูกกว่ารุ่นก่อนๆ อีกด้วย สิ่งที่ต่างไปจากรุ่นแรก นั่นคือ HDD ที่แถมมาให้อีกลูกเพิ่มเติมจาก SSD นอกจากนี้ ยังได้การเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Gigabit แม้ว่าตัวเครื่องจะหนากว่ารุ่นเก่า แต่สิ่งที่ได้กลับมาแทนคือน้ำหนักที่บางเบา เพียงแค่ 2.3 กิโลกรัมเท่านั้น ในส่วนของสเปค ใช้ซีพียูจาก Intel Core i7-8750H, การ์ดจอ GeForce GTX 1060 Max-Q, RAM 16 GB DDR4 และระบบระบายความร้อนแบบ Heat Pipe (ส่วนรุ่นที่ใช้ SSD อย่างเดียวจะเป็น GeForce GTX 1070

Read more
สมองกลยุคควอนตัมพัฒนาไปไกลแค่ไหนแล้ว?

สมองกลยุคควอนตัมพัฒนาไปไกลแค่ไหนแล้ว?

Weekly News

ทุกวันนี้บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายราย ต่างเปิดศึกแข่งขันกันพัฒนา “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” สมองกลแห่งโลกอนาคตที่ทรงประสิทธิภาพในการประมวลผลเหนือคอมพิวเตอร์รุ่นปัจจุบันนับล้านเท่า ซึ่งแต่ละค่ายก็มีแนวทางและเทคนิคในการพัฒนาแตกต่างกันออกไป เพื่อผลิตควอนตัมคอมพิวเตอร์ออกวางตลาดให้คนทั่วไปใช้งานได้จริงในวงกว้าง ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่คำนวณได้เร็วยิ่งกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์หลายพันเท่านั้น จะช่วยให้คนเราไขปัญหาซับซ้อน เช่นสามารถจะคิดค้นยารักษาโรคชนิดใหม่ได้เร็วขึ้น ปลดล็อกระบบความปลอดภัยที่เข้ารหัสไว้แน่นหนา ออกแบบวัสดุใหม่ ๆ รวมทั้งพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่มีความฉลาดสูงยิ่งขึ้นได้อีกด้วย ผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างกูเกิล ไอบีเอ็ม อินเทล ไมโครซอฟท์ หรือ ริเก็ตติ (Rigetti) ต่างก็พัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ในแนวทางของตน ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 4 แบบหลัก มีตั้งแต่แบบที่ใช้อนุภาคของแสง (โฟตอน) ไปจนถึงแบบที่ใช้การกักประจุไฟฟ้า ตัวนำยิ่งยวด และเพชรที่มีอะตอมไนโตรเจนเจือปนอยู่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์คืออะไร? หน่วยพื้นฐานของข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ธรรมดาทั่วไปคือเลขฐานสอง ซึ่งได้แก่ 0 กับ 1 อันเป็นสัญลักษณ์แทนการเปิดและปิดวงจรไฟฟ้า แต่หน่วยพื้นฐานของข้อมูลในควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าคิวบิต (Qubit) คืออนุภาคมูลฐานในอะตอมเช่นอิเล็กตรอน ซึ่งอนุภาคเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษสามารถอยู่ในสองสถานะได้ในเวลาเดียวกัน ตามหลักการทับซ้อนทางควอนตัม (Superposition) คุณสมบัติดังกล่าวทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็วเหลือเชื่อ อย่างที่มาร์ติน ไจล์ บรรณาธิการนิตยสาร MIT Technology Review บอกไว้ว่า “ถ้าคุณมีควอนตัมคอมพิวเตอร์ระดับ 2 คิวบิต และได้เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นเป็น 4

Read more
แพะชอบคนหน้าตา “มีความสุข” มากกว่า “โกรธเกรี้ยว”

แพะชอบคนหน้าตา “มีความสุข” มากกว่า “โกรธเกรี้ยว”

Weekly News

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสัตว์อย่างแพะมีความรู้สึกดึงดูดเข้าหาคนที่มีใบหน้าดูมีความสุขมากกว่าโกรธเกรี้ยว ชี้ให้เห็นว่ามีสัตว์หลายประเภทที่สามารถอ่านอารมณ์มนุษย์ได้มากกว่าที่เคยคิดกัน ทีมวิจัยทำการทดลองโดยให้แพะดูรูปสองรูปของคน ๆ เดียวกัน โดยรูปหนึ่งแสดงสีหน้าโกรธเกรี้ยว ในขณะที่อีกรูปดูมีความสุข นักวิจัยระบุในวารสาร Open Science ว่า แพะตรงปรี่เข้าหารูปที่แสดงสีหน้ามีความสุขก่อนทันที ซึ่งผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่า ความสามารถในการอ่านสีหน้ามนุษย์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สัตว์เลี้ยงที่เป็นเพื่อนมนุษย์อย่างสุนัขและม้าเท่านั้น การวิจัยนี้ทำขึ้นที่ศูนย์สงเคราะห์เลี้ยงแพะ Buttercups Sanctuary for Goats ในมณฑลเคนท์ในอังกฤษ ผู้ร่วมวิจัย ดร. อลัน แมคเอลลิกอตต์ จากวิทยาลัยควีนแมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน และเพื่อนร่วมทีม ติดตั้งรูปขาว-ดำสองรูปโดยให้มีระยะห่างออกจากกัน 1.3 เมตร และจากนั้นก็ปล่อยให้แพะเดินออกไปดูอย่างอิสระ ปรากฏว่าแพะชอบภาพหน้าที่ดูมีความสุขของมนุษย์และเอาจมูกและปากไปดม ๆ รูปนี้อยู่นาน จนแทบจะไม่สนใจรูปอีกใบหนึ่งเลย อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าแพะจะทำอย่างนั้นก็เฉพาะตอนที่นักวิจัยวางรูปใบหน้าคนที่ดูมีความสุขไว้ทางขวามือเท่านั้น และเมื่อนำรูปไปวางไว้ฝั่งซ้าย แพะจะไม่แสดงออกว่าชอบรูปฝั่้งไหนมากกว่ากัน นักวิจัยคาดว่านี่เป็นเพราะแพะใช้สมองข้างเดียวในการประมวลข้อมูล เช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ และอาจเป็นไปได้ที่สมองฝั่งซ้ายถูกใช้ประมวลข้อมูลในเชิงบวก หรือไม่สมองฝั่งขวาก็ถูกใช้ในการหลีกเลี่ยงหน้าตาที่ดูโกรธ ดร. แมคเอลลิกอตต์ บอกว่า งานวิจัยที่ได้นี้มีความหมายต่อการสื่อสารกันระหว่างคนกับสัตว์อย่าง วัว ควาย หรือแพะ และสัตว์อื่น ๆ เพราะว่าความสามารถในการอ่านอารมณ์คนอาจไม่จำกัดอยู่แค่สัตว์เลี้ยงอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม

Read more
เปิดตัว Xiaomi Pocophone F1 มือถือสเปคแรงราคาถูก!

เปิดตัว Xiaomi Pocophone F1 มือถือสเปคแรงราคาถูก!

Weekly News

เปิดตัวแล้วสดๆ ร้อนๆ กับมือถือเสปคเทพในราคาประหยัด Pocophone F1 ที่ลือกันมาได้ซักพักแล้วว่ามันจะเป็นมือถือชิป Snapdragon 845 ที่มีราคาถูกที่สุดในโลก (ตอนนี้) และหลังจากที่ Xiaomi เปิดเผยสเปคพร้อมราคาออกมาแล้ว ก็พบว่ามันไม่ใช่แค่คำคุยจริงๆ เพราะเปิดราคาเริ่มต้นมาที่ 20,999 รูปี หรือประมาณ 9,852 บาทเท่านั้น ส่วนสเปครวมๆ ของ Pocophone F1 นี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะมีดีแค่ชิป Snapdragon 845 หรอกนะ แต่สเปค และฟีเจอร์อื่นๆ นี่จัดเต็มแบบที่มือถือเรือธงแบรนด์อื่นได้หันมาค้อนกันตาเขียวเลยล่ะ…ว่าแล้วก็มาดูกันเลยว่ามันมีสเปคเป็นยังไงบ้าง สเปค POCOPHONE F1 หน้าจอขนาด 6.18 นิ้ว ความละเอียด FHD+ (1080 x 2160) CPU : Snapdragon 845 GPU : 630 RAM : 6GB / 8GB ความจุ : 64GB / 128GB

Read more
มาเป็นคลิป Pixel 3 XL โดนจับแกะกล่องภาพคมชัดแจ๋ว

มาเป็นคลิป Pixel 3 XL โดนจับแกะกล่องภาพคมชัดแจ๋ว

Weekly News

น่าจะเป็นสัปดาห์แห่งข่าวหลุดของ Pixel 3 XL มือถือรุ่นท็อปจาก Google ประจำปีนี้เลยก็ว่าได้ เรียกว่าเยอะจนเรานึกว่ามันเปิดตัวไปแล้วซะอีก เพราะนอกจากภาพนิ่ง พรีวิวฟีเจอร์กันเยอะแยะมากมาย ที่ไม่มีการสั่งลบหรืออุ้มให้หายไป กลับมีคลิปแบบชัดๆ ความละเอียดสูงระดับ Full HD โผล่ตามมาอีกต่างหาก โดย Pixel 3 XL ที่โดนจับมาแกะกล่องในครั้งนี้เป็นเครื่องสีขาวผ่าน YouTube Digi ดีไซน์ด้านหลังยังคงออกแบบให้มีช่องกระจกด้านบนบริเวณกล้องเหมือนเดิม ภายในกล่องตอนแรกนึกว่าแถม Pixel Bud มาให้เลย แต่มองดูดีๆ แล้ว นี่มันหูฟัง USB Type C เฉยๆ นี่นา ในกล่องยังมีสติ๊กเกอร์ #teampixel แถมมาให้ แอบอยากได้เหมือนกันนะเนี่ย ส่วนสายต่างๆ ก็มีมาให้เยอะเลย ทั้งสาย Type C ตัวแปลง Type C เป็นหูฟัง 3.5 มม. และตัวแปลง Type C เป็น USB ส่วนที่แปลกคือสีปุ่มพาวเวอร์นั้นเป็นสีเขียวทั้งๆ ที่เครื่องเป็นสีขาว อันนี้ตอน

Read more
กาแล็กซีทางช้างเผือก “ตาย” ไปแล้วครั้งหนึ่งก่อนฟื้นคืนชีพ

กาแล็กซีทางช้างเผือก “ตาย” ไปแล้วครั้งหนึ่งก่อนฟื้นคืนชีพ

Weekly News

เมื่อราว 7 พันล้านปีก่อน ดาราจักรที่เราอาศัยอยู่เคยตกอยู่ในสภาวะหยุดนิ่งเหมือนไร้ชีวิตมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยไม่มีดาวฤกษ์เกิดขึ้นใหม่ตลอดช่วงเวลายาวนานนับพันล้านปี ก่อนที่จะกลับ “ฟื้นคืนชีพ” มาอีกครั้ง โดยให้กำเนิดดาวฤกษ์ชุดใหม่ที่มีดวงอาทิตย์ของเรารวมอยู่ด้วย ศ. มะซะฟุมิ โนงุจิ จากมหาวิทยาลัยโทโฮคุของญี่ปุ่น ตีพิมพ์ผลการค้นพบข้างต้นในวารสาร Nature หลังจากได้วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของบรรดาดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งผลการตรวจสอบชี้ว่า ดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งที่ประกอบด้วยธาตุอย่างออกซิเจน แมงกานีส ซิลิคอน แคลเซียม กำมะถัน และไทเทเนียม มีอายุเก่าแก่กว่าดาวฤกษ์อีกกลุ่มที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบมากกว่าและพบได้น้อยกว่า ศ. โนงุจิระบุว่าองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน แสดงว่าดาวฤกษ์ทั้งสองกลุ่มก่อตัวขึ้นด้วยกระบวนการที่ไม่เหมือนกันในต่างช่วงเวลา โดยคาดว่าน่าจะมีระยะหยุดนิ่งที่ทั้งกาแล็กซีไร้ความเคลื่อนไหวใด ๆ มาคั่นกลางระหว่างการก่อตัวของดาวฤกษ์ในทั้งสองยุคด้วย ในงานวิจัยนี้มีการนำแนวคิดเรื่องการก่อตัวของดาราจักรด้วยกระแสก๊าซเย็น ซึ่งมีผู้เสนอในปี 2016 มาปรับใช้ เพื่ออธิบายวิวัฒนาการความเป็นมาของกาแล็กซีทางช้างเผือกในช่วง 1 หมื่นล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งแนวคิดนี้เชื่อว่ากาแล็กซีขนาดใหญ่จะแยกให้กำเนิดดาวฤกษ์ในช่วงเวลา 2 ยุคด้วยกัน “ดาวฤกษ์รุ่นแรกเกิดขึ้น เมื่อกระแสของก๊าซเย็นจากภายนอกไหลเข้ามาสะสมตัวภายในกาแล็กซี แต่เมื่อบางส่วนของดาวฤกษ์รุ่นแรกนี้ตายลงและเกิดระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา คลื่นกระแทกรุนแรงทำให้กลุ่มก๊าซภายในกาแล็กซีร้อนขึ้น จนกระแสก๊าซเย็นด้านนอกไม่ไหลเข้ามาอีก และไม่เกิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ ๆ ” ศ. โนงุจิกล่าว “ช่วงเวลาที่กาแล็กซีหยุดนิ่งเหมือนตายนี้กินเวลาราว 2 พันล้านปี ก่อนจะเกิดซูเปอร์โนวาขึ้นอีกรอบ ซึ่งได้ให้กำเนิดธาตุเหล็กแพร่กระจายไปทั่วห้วงอวกาศ

Read more
คลื่นความโน้มถ่วงพลังมหาศาลให้กำเนิดหลุมดำได้

คลื่นความโน้มถ่วงพลังมหาศาลให้กำเนิดหลุมดำได้

Weekly News

  คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational waves) ซึ่งตกเป็นข่าวฮือฮาในแวดวงวิทยาศาสตร์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น นอกจากจะเกิดขึ้นเพราะเหตุรุนแรงในจักรวาลอย่างการชนและรวมตัวกันของหลุมดำแล้ว ผลการศึกษาทางทฤษฎีล่าสุดยังชี้ว่า คลื่นความโน้มถ่วงบางชนิดที่มีพลังมหาศาลก็อาจจะให้กำเนิดหลุมดำขึ้นได้ด้วยเช่นกัน ศ. ฟรานซ์ พรีทอเรียส จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันของสหรัฐฯ และ ดร. วิลเลียม อีสต์ จากสถาบันเพอริมิเทอร์เพื่อฟิสิกส์ทฤษฎี (PI) ของแคนาดา ร่วมกันเสนอความเป็นไปได้ดังกล่าวในบทความที่เผยแพร่ทางคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ arXiv.org โดยระบุถึงผลการคำนวณของพวกเขาที่ชี้ว่า มีโอกาสที่คลื่นความโน้มถ่วงสองชนิดซึ่งมีหน้าคลื่นแบนราบเหมือนกันจะชนกันเข้า ทำให้เกิดภาวะเอกฐาน (Singularity) ที่มวลมีความหนาแน่นเป็นอนันต์เช่นเดียวกับศูนย์กลางของหลุมดำขึ้นได้ คลื่นความโน้มถ่วงคือการยืดและหดตัวของปริภูมิ-เวลา (Space-time) เนื่องมาจากแรงดึงดูดของวัตถุมวลมหาศาลอย่างหลุมดำหรือดาวนิวตรอนที่โคจรวนรอบกันและกัน ก่อนจะชนและรวมตัวเข้าด้วยกันในที่สุด โดยปลดปล่อยพลังงานมหาศาลเป็นคลื่นความโน้มถ่วงที่แผ่ออกไปในจักรวาลทุกทิศทางเหมือนระลอกคลื่นในน้ำ อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่คลื่นความโน้มถ่วงขยายวงกว้างออก จนเกิดจุดที่หน้าคลื่นมีความโค้งเหลือน้อยเสมือนกับเป็นคลื่นของเส้นตรงที่ขนานกันแล้ว หากคลื่นชนิดนี้ปะทะเข้ากับคลื่นความโน้มถ่วงอีกชุดหนึ่งที่เรียกว่า Plane-fronted wave ในช่วงเวลาที่เหมาะสมซึ่งมีพลังงานมหาศาลแฝงอยู่ด้วย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การที่ปริภูมิ-เวลาเข้าห่อหุ้มภาวะเอกฐานเอาไว้ ซึ่งก็คือกำเนิดของหลุมดำนั่นเอง แม้ปรากฏการณ์นี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากมาก แต่หากเกิดขึ้นในห้วงอวกาศส่วนที่ใกล้กับโลกของเราแล้วก็จัดว่าน่ากังวลไม่น้อย เพราะหลุมดำที่เกิดขึ้นจะมีพลังทำลายล้างโลกและดวงดาวต่าง ๆ ได้อย่างราบคาบ ส่วนกรณีที่จะมีผู้นำหลักการนี้มาใช้ เพื่อทดลองสร้างหลุมดำขนาดจิ๋วสำหรับการศึกษาทางฟิสิกส์บนโลกนั้น ทีมผู้ทำการวิจัยบอกว่า แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะสามารถหาพลังงานมหาศาลมาใช้สร้างหลุมดำด้วยวิธีการนี้ ที่มา – https://www.bbc.com/thai/international-45097380 VIEW MORE

Read more
โลกเสี่ยงภาวะเรือนกระจกแบบถาวร หากปล่อยให้ร้อนขึ้นอีก

โลกเสี่ยงภาวะเรือนกระจกแบบถาวร หากปล่อยให้ร้อนขึ้นอีก

Weekly News

  ผลการศึกษาล่าสุดของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติชี้ว่า โลกของเรามีความเสี่ยงจะเกิดภาวะเรือนกระจกชนิดที่ไม่อาจแก้ไขให้คืนสภาพเดิมได้ในอีกไม่ กี่ร้อยปีข้างหน้า แม้ว่าชาติต่าง ๆ จะพยายามร่วมมือกันตัดลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้สำเร็จ ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ก็ตาม รายงานดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ PNAS ระบุว่า หากเรายังคงปล่อยให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก จนถึงจุดที่เหนือกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย ในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียส เมื่อนั้นจะเกิดการรบกวนระบบดูดซับคาร์บอนในธรรมชาติ ให้กลับกลายเป็นตัวการปลดปล่อยคาร์บอน ปริมาณมหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศแทน ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดภาวะเรือนกระจกชนิดถาวร ในแต่ละปี ผืนป่าสำคัญอย่างป่าแอมะซอน รวมทั้งมหาสมุทรต่าง ๆ และชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) ในแถบขั้วโลก ได้ดูดซับคาร์บอน จากชั้นบรรยากาศมาเก็บไว้ถึง 4.5 พันล้านตัน ซึ่งถือว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของโลก แต่ก็น่าหวั่นเกรงว่าแผนการที่ระบุไว้ ในความตกลงปารีส ซึ่งนานาชาติจะช่วยกันรักษาระดับอุณหภูมิไม่ให้โลกร้อนขึ้นเกิน 2 องศานั้น ไม่เพียงพอจะป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเรือนกระจก แบบถาวรนี้ได้ ศ. โยฮัน ร็อกสตอร์ม จากศูนย์ Stockholm Resilience Centre ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้วิจัยบอกว่า “เมื่ออุณหภูมิถึงจุดวิกฤตดังกล่าว ระบบป้องกันต่าง ๆ ของโลกที่เคยเป็นมิตรต่อเราจะกลับกลายเป็นศัตรูไปทันที” “อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม

Read more
หลุดสเปคเต็ม Oppo F9

หลุดสเปคเต็ม Oppo F9

Weekly News

หลังจากที่ได้มีภาพตัวเครื่องหลุดออกมา ล่าสุดได้มีการเปิดเผยสเปคเต็มของ Oppo F9 ที่จะเปิดตัวในเร็ววันนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนระดับกลาง แต่ Oppo F9 ก็มีสเปคที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ดังนี้ หน้าจอ IPS ขนาด 6.3 นิ้ว ความละเอียด 1080 x 2280 พิกเซล, ความสว่างสูงสุด 450 Nit ชิปเซ็ต Mediatek Helio P60 แรม 4/6 GB ความจุ 64 GB กล้องหลังคู่ 16+2 ล้านพิกเซล, f/1.85 กล้องหน้า 25 ล้านพิกเซล, f/2.0 ระบบปฏิบัติการ Android 8.1 Oreo ครอบด้วย ColorOS 5.2 แบตเตอรี่ 3,500 mAh, รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็ว VOOC : ชาร์จ

Read more
อุกกาบาตช่วยไขปริศนาเรื่องกำเนิดชีวิตได้

อุกกาบาตช่วยไขปริศนาเรื่องกำเนิดชีวิตได้

Weekly News

อุกกาบาตชนิดหายากที่ตกลงมาจากท้องฟ้าเมื่อ 154 ปีก่อน กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยไขความลับเรื่องกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลก และชี้ถึงความเป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวนอกระบบสุริยะด้วย ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ของสหราชอาณาจักร ตีพิมพ์ผลการศึกษาดังกล่าวในวารสาร PNAS โดยระบุว่าได้พบอุกกาบาตชนิด Carbonaceous chondrite ที่มีอายุเก่าแก่เท่ากับระบบสุริยะ หรือราว 4.5 พันล้านปี ซึ่งอุกกาบาตนี้ตกลงมาที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อกว่าหนึ่งศตวรรษก่อน การที่อุกกาบาตดังกล่าวก่อตัวขึ้นพร้อมกับจุดเริ่มต้นของระบบสุริยะ ทั้งยังมีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์สำคัญที่ให้กำเนิดชีวิตรวมอยู่ด้วย เช่น ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน คาร์บอน และกำมะถัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบได้ว่าองค์ประกอบที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เกิดขึ้นในระบบสุริยะเอง โดยไม่ได้ล่องลอยมาจากกลุ่มดาวหรือดาราจักรอื่น ๆ   ดร. โรแมง ทาร์เทส หนึ่งในทีมผู้วิจัยบอกว่า การศึกษาไอโซโทปของออกซิเจนและสารอินทรีย์อื่น ๆ ที่พบในอุกกาบาตดังกล่าว ทำให้พบว่ามีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับชนิดของสารอินทรีย์ที่มีในดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะด้วย “หากสารอินทรีย์สามารถก่อตัวขึ้นได้ในกระบวนการให้กำเนิดระบบสุริยะ ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีองค์ประกอบของชีวิตเกิดขึ้นในระหว่างการก่อตัวระยะเริ่มแรกของระบบสุริยะอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากของเราด้วย” ดร. ทาร์เทสกล่าว สำหรับอุกกาบาตที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีขนาดราว 15 เซนติเมตร ตกลงมาที่เมือง Orgueil ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสเมื่อปี 1864 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติฝรั่งเศสว่าด้วยประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงปารีส และเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้จนถึงเดือนมกราคมปีหน้า ที่มา – https://www.bbc.com/thai/international-45097387

Read more

Rate Us

Rate our Website !!

Links

SDalumni PTAD St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-652-7477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School