พีระมิดแห่งกีซารวมศูนย์พลังแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ที่ห้องภายในได้

พีระมิดแห่งกีซารวมศูนย์พลังแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ที่ห้องภายในได้

Weekly News

        ผลการศึกษาทางทฤษฎีของทีมนักฟิสิกส์นานาชาติชี้ว่า มหาพีระมิดแห่งกีซา (Great Pyramid of Giza )หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณที่ประเทศอียิปต์ สามารถรวมศูนย์พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าให้มีความเข้มขึ้นที่บริเวณใต้ส่วนฐานและห้องหับต่าง ๆ ภายในได้ รายงานการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Applied Physics ระบุว่า ทีมนักฟิสิกส์นานาชาติได้คำนวณและสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ขึ้น เพื่อทดสอบว่าโครงสร้างของมหาพีระมิดแห่งนี้จะตอบสนองต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นแสงอาทิตย์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ และสัญญาณ WiFi อย่างไร ดร. แอนเดรย์ เยฟลูคิน จากมหาวิทยาลัย ITMO ของรัสเซีย หนึ่งในทีมผู้วิจัยบอกว่า “เราตั้งสมมติฐานว่าไม่มีช่องว่างภายในพีระมิดที่ยังค้นหาไม่พบ และตัวพีระมิดมีคุณสมบัติแบบหินปูนกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอทั้งภายในและภายนอก จากนั้นจึงมาคำนวณว่ารูปทรงพีระมิดจะทำให้เกิดการกระจายหรือดูดซับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างไร รวมทั้งมีการสั่นพ้อง (Resonance) ของคลื่นเกิดขึ้นหรือไม่” ผลจากการทดสอบทางทฤษฎีพบว่า โครงสร้างของมหาพีระมิดแห่งกีซาสามารถรวบรวมพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้มีความเข้มขึ้นเป็นพิเศษที่ด้านในและด้านใต้ของส่วนฐาน การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา และมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ในหลายด้าน การใช้รูปทรงพีระมิดเข้ามาปรับปรุงการใช้งานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นับว่ามีความเป็นไปได้สูง เช่นการก่อสร้างอาคารให้มีส่วนยอดแหลมขึ้น ก็อาจทำให้จุดอับของสัญญาณ WiFi ภายในห้องต่าง ๆ ลดลงได้ แม้บางคนอาจจินตนาการไปว่า ชาวอียิปต์โบราณสร้างสุสานรูปทรงพีระมิดเพื่อให้คลื่นสัญญาณการติดต่อระหว่างผู้ตายกับโลกหน้าเป็นไปโดยสะดวก

Read more
อวกาศเต็มไปด้วยละอองไขมันสกปรกและเป็นพิษ

อวกาศเต็มไปด้วยละอองไขมันสกปรกและเป็นพิษ

Weekly News

ห้วงอวกาศที่หนาวเย็นและดำมืดอาจจะดูเหมือนว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดอยู่ แต่ทีมนักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและตุรกีพบว่า พื้นที่ว่างระหว่างดวงดาวโดยเฉพาะในกาแล็กซีทางช้างเผือกนั้น มีฝุ่นละอองของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคุณสมบัติแบบไขมันล่องลอยอยู่เต็มไปหมด ศ. ทิม ชมิดต์ หนึ่งในทีมผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า พบโมเลกุลของสารอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (Aliphatic hydrocarbon ) ที่ล่องลอยในอวกาศ ในปริมาณมากกว่าที่เคยคาดกันไว้ โดยมีถึง 1 หมื่นล้านล้านล้านล้านล้านตันในกาแล็กซีทางช้างเผือก หรือเทียบเท่ากับปริมาณไขมันในเนยจำนวน 40 ล้านล้านล้านล้านล้านล้านก้อน (เลข 4 ตามด้วยเลขศูนย์ 37 ตัว) “ในอนาคต ยานสำรวจที่เดินทางไปในห้วงอวกาศเป็นเวลานาน อาจจะถูกอนุภาคคาร์บอนที่คล้ายไขมันเหล่านี้จับตามช่องหน้าต่างจนสะสมเป็นคราบเหนียวได้” ศ. ชมิดต์ กล่าว มีการตีพิมพ์ผลการค้นพบนี้ในวารสารรายเดือนของราชสมาคมดาราศาสตร์แห่งกรุงลอนดอน (MNRAS) โดยทีมผู้วิจัยระบุว่า อนุภาคฝุ่นละอองที่ล่องลอยอยู่ระหว่างดวงดาวนั้น ประกอบด้วยส่วนที่เป็นทั้งเถ้าเขม่า ซิลิกา และอนุภาคคาร์บอนที่คล้ายไขมัน โดยลมสุริยะคอยพัดให้ส่วนที่คล้ายไขมันล่องลอยไปมาอยู่ในระบบสุริยะของเรา มีสัดส่วนของอนุภาคคาร์บอนที่เหมือนไขมันนี้อยู่เป็นจำนวน 100 อะตอม ต่อไฮโดรเจนทุก 1 ล้านอะตอมในกาแล็กซีทางช้างเผือก คิดเป็นปริมาณราว 25-50% ของคาร์บอนทั้งหมดในดาราจักรที่เราอาศัยอยู่ ผลการค้นพบนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ใกล้จะคำนวณปริมาณคาร์บอนทั้งหมดในห้วงอวกาศได้ โดยถือเป็นข้อมูลสำคัญในการทำความเข้าใจวัฏจักรของคาร์บอนในระดับจักรวาล ซึ่งมีผลต่อกระบวนการก่อตัวของดวงดาวและกำเนิดสิ่งมีชีวิต “ไขมันจากอนุภาคคาร์บอนชนิดนี้ ไม่ใช่แบบเดียวกับเนยที่เราเอามาทาขนมปังรับประทาน

Read more
ทฤษฎีความโน้มถ่วงของไอน์สไตน์เป็นจริงแม้กับดาวนิวตรอน

ทฤษฎีความโน้มถ่วงของไอน์สไตน์เป็นจริงแม้กับดาวนิวตรอน

Weekly News

  หลักความสมมูล (Equivalence principle ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสนอไว้เมื่อกว่าร้อยปีก่อน ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องอีกครั้ง โดยนักดาราศาสตร์ใช้การโคจรของระบบดาว 3 ดวง ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 4,200 ปีแสง เป็นสนามทดสอบในครั้งนี้ ระบบดาวดังกล่าวมีชื่อว่า PSR J0337+1715 ประกอบด้วยคู่ของดาวนิวตรอนและดาวแคระขาวโคจรวนรอบกันและกันอยู่ในระยะประชิด โดยมีดาวแคระขาวอีกดวงหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปโคจรวนรอบดาวคู่ดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง ทีมนักดาราศาสตร์อเมริกันใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุกรีนแบงก์ (Green Bank Telescope) ที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนียติดตามการเคลื่อนที่ของระบบดาวดังกล่าว และพบว่าข้อมูลที่ได้เป็นไปตามหลักความสมมูลของไอน์สไตน์ ซึ่งระบุว่าวัตถุที่อยู่ในสนามความโน้มถ่วงเดียวกัน จะตกอย่างอิสระด้วยอัตราเร่งเท่ากัน ไม่ว่าจะมีมวลเท่าใดก็ตาม หลักการนี้เคยมีการทดสอบมาแล้วในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 โดยกาลิเลโอปล่อยวัตถุที่มีน้ำหนักต่างกันจากบนหอเอนเมืองปิซา และพบว่าวัตถุทั้งสองตกถึงพื้นพร้อมกัน ต่อมาในปี 1971 นายเดวิด สกอตต์ นักบินอวกาศประจำยานอะพอลโล 15 ใช้ค้อนและขนนกเป็นเครื่องมือทดสอบการตกอิสระในภาวะสุญญากาศบนดวงจันทร์ และพบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การทดสอบหลักความสมมูลแบบเข้ม (Strong equivalence principle )กับวัตถุอวกาศที่มีมวลต่างกันสุดขั้วเช่นดาวนิวตรอนที่มีมวลมหาศาลและดาวแคระขาวในครั้งนี้ นับว่าเพิ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรก รายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ระบุว่า แรงโน้มถ่วงจากดาวแคระขาวที่โคจรอยู่รอบนอก ไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของคู่ดาวนิวตรอน –

Read more
“ROG Phone” มือถือเพื่อเกมเมอร์ มีตัวช่วยระบายความร้อน

“ROG Phone” มือถือเพื่อเกมเมอร์ มีตัวช่วยระบายความร้อน

Weekly News

ASUS เปิดตัว!! ROG Phone Game Changer มือถือที่ออกแบบมาเพื่อเกมเมอร์โดยเฉพาะ ดีไซน์ล้ำสมัย จับถนัดมือเพราะเน้นการใช้งานตัวเครื่องแบบแนวนอน และเป็น Gaming Phone รุ่นแรกของ ASUS ด้านประสิทธิภาพ // สเปกเครื่อง ประมวลผลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2.96GHz ด้วย Qualcomm Snapdragon 845 ทำงานร่วมกับ Qualcomm Adreno 630 Ram 8 GB // Rom 512 Mb สามารถประมวลผลกราฟิกได้สูงและเร็วขึ้น 30% Cat 16 LTE 1Gbps downloads. 802.11ad Wi-Fi Speeds. มีช่องต่อ port USB Type-C ยังคงไว้ซึ่งช่องหูฟัง 3.5 mm. และมีโลโก้ ROG ที่สามารถควบคุมสีได้ 6 สี ด้านหน้าจอ หน้าจอ AMOLED

Read more
ซีพียูของ Apple ประสิทธิภาพล้ำหน้าคู่แข่งในตลาดอยู่ 2 ปี

ซีพียูของ Apple ประสิทธิภาพล้ำหน้าคู่แข่งในตลาดอยู่ 2 ปี

Weekly News

สำนักข่าว AnandTech ได้เปิดเผยผลการทดสอบ Geekbench ล่าสุดของชิปประมวลผลสมาร์ทโฟนในท้องตลาด ซึ่งปรากฏว่า Apple A11 และ A10 ยังทำคะแนนได้มากที่สุดในสองอันดับแรก ตามมาด้วยชิปตัวใหม่ของทาง ARM อย่าง Cortex-A76 ซึ่งทำคะแนนได้เหนือกว่า Exynos 9810 ของ Samsung และ Snapdragon 845 ที่ปัจจุบันใช้ในเรือธงฝั่งแอนดรอยด์หลายรุ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินจากผลการทดสอบดังกล่าว ก็ทำให้มีการสรุปออกมาว่า ชิปเซ็ตของ Apple ยังคงมีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่งในตลาดอยู่ประมาณ 2 ปี เนื่องจากกว่าที่สมาร์ทโฟนซึ่งหันมาใช้ชิป Cortex-76 นั้นจะวางจำหน่ายในตลาด ทาง Apple เองก็จะปล่อยชิปใหม่ A12 ออกมาแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ Apple มีจุดได้เปรียบใหญ่ตรงที่พวกเขามีต้นทุนการผลิตชิปที่ถูกกว่าเจ้าอื่น ๆ ไม่เพียงตัวเลขราคาการผลิต แต่ยังรวมถึงการที่ Apple ออกแบบชิปเพื่อการใช้งานกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของตัวเองเท่านั้น ซึ่งนั่นจะทำให้พวกเขาสามารถนำเงินไปลงทุนกับวัตถุดิบที่เพิ่มประสิทธิภาพชิปได้มากกว่า โดยอย่างที่ทราบกันว่าชิป A11 นั้นมีประสิทธิภาพความแรงแซงหน้า Intel Core i5-7360U ใน

Read more
โลมามีความสุขในอะควาเรียมกว่าอยู่ตามธรรมชาติจริงหรือ?

โลมามีความสุขในอะควาเรียมกว่าอยู่ตามธรรมชาติจริงหรือ?

Weekly News

  นักวิทยาศาสตร์ศึกษาชีวิตโลมาในสถานแสดงสัตว์น้ำที่ฝรั่งเศสตรวจวัด “ระดับความสุข” ของโลมาว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อต้องถูกเลี้ยงอยู่ในที่กักขัง ผลวิจัยพบว่า สัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมมักรอคอยที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ที่พวกมันคุ้นเคย งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาสัตว์ที่ถูกเลี้ยงดูโดยมนุษย์ผ่าน “มุมมองของโลมา” เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยสวัสดิภาพของโลมาในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำที่ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 ปี เผยแพร่ในวารสารเชิงวิชาการ วิทยาศาสตร์พฤติกรรมสัตว์ประยุกต์ (Applied Animal Behaviour Science) โดยทีมนักวิจัยทำการประเมินว่ากิจกรรมแบบใดคือสิ่งที่โลมามีพฤติกรรมตอบสนองมากที่สุด ดร. อิซซาเบลลา เคล็กก์ หัวหน้าคณะวิจัย ซึ่งทำงานกับสถานแสดงโลมาที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส กล่าวว่า การวิจัยนี้พยายามถอดรหัสพฤติกรรมของโลมา โดยเฉพาะลักษณะท่าทางทางกายภาพที่จะบ่งชี้ถึงความรู้สึกของสัตว์ “เราต้องการค้นหาว่ากิจกรรมแบบใดในภาวะถูกกักขังที่โลมาชอบมากที่สุด” ดร. เคล็กก์ บอกกับบีบีซี กิจกรรมสามแบบที่นักวิจัยทดลองกับโลมา ได้แก่ การให้ครูฝึกโลมาหยอกล้อ การโยนของเล่นลงไปในสระ และท้ายสุดการปล่อยให้โลมาได้ว่ายน้ำอย่างอิสระ “เราพบผลการทดลองที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า โลมาทุกตัวตั้งตารอที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ที่พวกมันคุ้นเคย” พฤติกรรมที่บอกว่าโลมาจดจ่ออยากคลุกคลีกับมนุษย์ คือการว่ายน้ำวนเวียนอยู่ในระดับผิวน้ำและมองไปยังบริเวณที่ครูฝึกมักจะเข้ามาสื่อสารและสัมผัส นอกจากนี้โลมายังใช้เวลาอยู่ที่บริเวณขอบสระนานกว่าปกติ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่พบได้กับสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์และฟาร์มเช่นกัน “ยิ่งสัตว์และคนผูกพันกันมากขึ้นเท่าไหร่ ก็เหมือนสัตว์ถูกเอาใจใส่เลี้ยงดูมากขึ้นเท่านั้น” สัตว์ควรถูกนำมาเลี้ยงไว้ในสถานที่เฉพาะนั้นถูกต้องหรือไม่ เป็นข้อถกเถียงที่มีมาอย่างยาวนาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลฝรั่งเศสได้คว่ำกฎหมายที่ห้ามการเพาะเลี้ยงโลมาในสถานแสดงและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ผู้ประกอบการสถานแสดงโลมาแห่งหนึ่งในฝรั่งเศส บอกกับบีบีซีว่า การปล่อยให้โลมาได้ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกของมันเอง เป็นวิธีที่จะทำให้สัตว์ที่อยู่ในความดูแลของมนุษย์มีความสุข แม้ว่าจะแตกต่างจากโลมาที่อยู่ตามธรรมชาติก็ตาม โลมาตามธรรมชาติก็จะรู้สึกมีความสุขกว่าเมื่อได้อยู่ในทะเล

Read more
คาดดาวพลูโตเกิดจากดาวหางนับพันล้านดวงรวมตัวกัน

คาดดาวพลูโตเกิดจากดาวหางนับพันล้านดวงรวมตัวกัน

Weekly News

       แม้ปัจจุบันวงการดาราศาสตร์ไม่นับว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แต่ก็ยังคงมีปริศนาเกี่ยวกับกำเนิดที่ลึกลับของดาวเคราะห์แคระดวงนี้อยู่ ซึ่งล่าสุดพบความเป็นไปได้ว่าดาวพลูโตอาจเกิดจากดาวหางจำนวนมหาศาลกว่า 1 พันล้านดวงซึ่งชนและรวมตัวเข้าด้วยกัน นักดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยตะวันตกเฉียงใต้ (SwRI) ในรัฐเทกซัสของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังจะตีพิมพ์ผลการศึกษาดังกล่าวลงในวารสาร Icarus ระบุว่า ผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของดาวพลูโต ซึ่งได้จากยานสำรวจนิวฮอไรซันส์ (New Horizons) มีความคล้ายคลึงกันอย่างยิ่งกับองค์ประกอบของดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ซึ่งยานสำรวจอวกาศโรเซตตา (Rosetta) ได้ตรวจสอบมา ดร. คริสโตเฟอร์ เกลน นักวิจัยผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้บอกว่า “การที่ดาวพลูโตและดาวหางดังกล่าวมีองค์ประกอบเป็นไนโตรเจนสูงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ไม่น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญ โดยนอกจากดาวพลูโตจะมีไนโตรเจนในบรรยากาศสูงถึง 98% แล้ว ยังมีธารไนโตรเจนแข็งที่เคลื่อนตัวได้เหมือนธารน้ำแข็งบนโลกอีกด้วย” ผลการคำนวณปริมาณไนโตรเจนของดาวพลูโตทั้งหมด พบว่าเทียบเท่ากับปริมาณไนโตรเจนจากดาวหางในแถบไคเปอร์ (Kuiper belt) ราว 1 พันล้านดวง ซึ่งดาวหางประเภทนี้รวมถึงดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ที่ใช้เปรียบเทียบในการศึกษาครั้งนี้ด้วย ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่า ดาวพลูโตมีกำเนิดมาจากการสะสมมวลสารปริมาณมากที่ได้จากดาวหางซึ่งชนและรวมตัวเข้าด้วยกัน “แนวคิดนี้อาจทำให้เราเรียกดาวพลูโตได้ว่าเป็น “ดาวหางยักษ์” ดวงหนึ่ง ทั้งยังช่วยอธิบายได้ว่า ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จำนวนมากที่ควรจะพบบนดาวพลูโตนั้นหายไปไหนเสียหมด โดยแนวคิดดาวหางยักษ์ของเราชี้ว่า คาร์บอนมอนอกไซด์น่าจะถูกแช่แข็งอยู่ที่ใต้พื้นผิวของดาวก็เป็นได้” ดร. เกลนกล่าว  

Read more
Samsung จะเปิดตัว Galaxy Note 9 พร้อมกับ Bixby 2.0

Samsung จะเปิดตัว Galaxy Note 9 พร้อมกับ Bixby 2.0

Weekly News

ล่าสุด (18 พฤษภาคม 2018) Gray G. Lee หัวหน้า AI Center ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ Samsung Research ได้กล่าวกับทาง Korea Herald สื่อรายใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้ว่า Galaxy Note 9 จะมาพร้อมกับ Bixby เวอร์ชั่น 2.0 ที่ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นกว่าเดิม เขากล่าวว่า Bixby 2.0 จะมีฟีเจอร์ที่ได้รับการปรับปรุงหลายอย่าง ไม่วาจะเป็น กระบวนการทางภาษาที่มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น, เพิ่มประสิทธิภาพด้านการตัดเสียงรบกวน และตอบสนองต่อการใช้งานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น   Samsung วางแผนจะเชื่อมโยงสมาร์ทโฟนราว 14 ล้านเครื่องเข้ากับ Bixby ในปี 2018 นี้ และเล็งจะเชื่อมโยงทุกเครื่องเข้ากับ Bixby ภายสนปี 2020 คาดว่า Samsung Galaxy Note 9 จะเปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2018 นี้ และจะวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2018  

Read more
Asus เปิดตัว Notebook จอ 4K มาพร้อม Intel Core i9

Asus เปิดตัว Notebook จอ 4K มาพร้อม Intel Core i9

Weekly News

Asus เปิดตัวแล็ปท็อปรุ่นใหม่ในซีรีส์ ZenBook กับ ZenBook Pro 15 แต่สำหรับรุ่นนี้มีความแตกต่างจากสินค้าในไลน์ปกติไม่น้อยเลยล่ะครับ สำหรับตัวท็อปของ ZenBook Pro 15 มาพร้อมชิปประมวลผล Intel Core i9 และการ์ดจอแยก GTX 1050 ลำโพง Harman Kardon และหน้าจอความละเอียดสูงถึง 4K ที่ผ่านการแคริเบลทมาจากโรงงานแล้วครับ สำหรับรุ่นที่ต่ำกว่าจะมาพร้อมชิปประมวลผล Intel Core i7 รหัส 8750H และ Intel Core i5 รหัส 8300H ทั้งคู่มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 4K และความละเอียด 1080p หน้าจอ IPS ขนาด 15.6 นิ้ว รองรับการสัมผัสด้วยนิ้ว แสดงผลสี AdobeRGB 100% พอร์ท: Thunderbolt 3 สองพอร์ท, USB 3.1 รุ่นที่สอง สองพอร์ท, ตัวต่อ

Read more
“ปลูกถ่ายความทรงจำ” ในหอยทากทะเลได้สำเร็จ

“ปลูกถ่ายความทรงจำ” ในหอยทากทะเลได้สำเร็จ

Weekly News

  ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตลอสแอนเจลิส (ยูซีแอลเอ) ของสหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จในการปลูกถ่ายความทรงจำ (Memory transplant) ให้กับหอยทากทะเลชนิดหนึ่งได้แล้ว มีการตีพิมพ์เผยแพร่รายงานดังกล่าวในวารสาร eNeuro โดยศาสตราจารย์เดวิด แกลนซ์แมน ผู้นำทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ได้ทดลองฝึกให้หอยทากทะเล Aplysia californica รู้จักสร้างกลไกป้องกันตัวเมื่อส่วนหางถูกสัมผัสด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ซ้ำกันหลายครั้ง ผลปรากฏว่าหอยทากทะเลซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง เรียนรู้ที่จะหดตัวเข้าในเปลือกเพื่อหลบกระแสไฟฟ้าให้นานขึ้น โดยคิดเป็นเวลาเฉลี่ยราว 50 วินาทีในครั้งหลัง ๆ นับว่าเป็นพฤติกรรมหลบภัยที่กินเวลานานกว่าหอยทากทะเลกลุ่มที่ไม่ถูกช็อตไฟฟ้าอย่างมาก ในขั้นต่อไป ทีมผู้วิจัยได้สกัดเอา RNA ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลสำคัญในเซลล์ ออกจากระบบประสาทของหอยทากทะเลที่ถูกไฟฟ้าช็อต แล้วนำไปฉีดให้กับหอยทากทะเลที่ยังไม่เคยถูกฝึกให้หลบภัยจากกระแสไฟฟ้ามาก่อน ผลปรากฏว่าหอยทากทะเลกลุ่มหลังเปลี่ยนไปมีพฤติกรรมหดตัวหลบภัยนานขึ้นเป็น 40 วินาที โดยไม่ต้องถูกฝึกด้วยการช็อตไฟฟ้าแต่อย่างใด ศ. แกลนซ์แมนชี้ว่า ผลการทดลองดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นว่าความทรงจำไม่ได้ถูกเก็บรักษาอยู่แต่ในไซแนปส์ (Synapse) หรือรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทตามที่เคยเข้าใจกันมาเท่านั้น แต่ความทรงจำบางประเภทยังถูกเก็บไว้กับ RNA ซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ประสาทอีกด้วย ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถโอนถ่ายความทรงจำได้ผ่านการปลูกถ่าย RNA เช่นในครั้งนี้ แม้วิธีการดังกล่าวอาจยังใช้ไม่ได้กับการโอนถ่ายความทรงจำที่มีรายละเอียดมากและซับซ้อนของมนุษย์ แต่ทีมผู้วิจัยหวังว่า การค้นพบนี้อาจนำไปสู่วิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์และภาวะผิดปกติจากความเครียดหลังประสบเหตุสะเทือนใจ (PTSD) อย่างได้ผล รวมทั้งช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจเรื่องกลไกการเก็บรักษาความทรงจำในระดับเซลล์ให้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงประสาทวิทยาหลายรายได้ออกมาแสดงความเคลือบแคลงสงสัยต่อการทดลองดังกล่าวว่า

Read more

Rate Us

Rate our Website !!

Links

St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-6527477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School