ไดโนเสาร์ขยายอาณาเขตได้ดีเกินไปจนสายพันธุ์ใหม่น้อยลง

T rex

ผลการศึกษาล่าสุดซึ่งทำแผนที่แสดงข้อมูลการแพร่พันธุ์ของไดโนเสาร์ จากถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ออกไปยังทั่วทุกมุมโลกชี้ว่า การแพร่กระจายประชากรและการขยายอาณาเขตที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งของพวกมัน กลับเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์เกิดสายพันธุ์ใหม่น้อยลงและมีจำนวนประชากรลดต่ำ ตั้งแต่ก่อนที่อุกกาบาตยักษ์จะพุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งทำให้พวกมันสูญพันธุ์ไปในที่สุด

ผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Nature Ecology and Evolution โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่นอกเหนือไปจากการศึกษาซากฟอสซิล ทำให้พบว่าเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์นั้นประสบกับภาวะเสื่อมถอยมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุอุกกาบาตยักษ์พุ่งชนโลกนานแล้ว

 

 

ดร.คริส เวนดิตติ จากมหาวิทยาลัยเรดดิงของสหราชอาณาจักร ผู้เขียนร่วมของรายงานวิจัยดังกล่าวชี้ว่า เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ได้ถือกำเนิดและแพร่กระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยโอกาสที่โลกว่างจากสัตว์คู่แข่งชนิดอื่น ๆ หลังการสูญพันธุ์ครั้งสำคัญที่เรียกว่า “การล้มตายครั้งใหญ่” (Great Dying) เมื่อปลายยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก ราว 251 ล้านปีก่อน

การที่ไดโนเสาร์ไม่มีคู่แข่งในการแย่งชิงอาหาร ทรัพยากร รวมทั้งอาณาเขตอันกว้างใหญ่ ทำให้พวกมันแพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและออกครอบครองพื้นที่ทั่วทุกมุมโลก แต่ก็ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ไดโนเสาร์ในยุคหลังไม่สามารถอพยพย้ายถิ่นได้อีก ทั้งแต่ละกลุ่มก็มีความคุ้นเคยกับที่อยู่อาศัยเฉพาะของตนมากเกินไป จนขาดการปรับตัวที่นำไปสู่การเกิดสายพันธุ์ใหม่ เว้นแต่ไดโนเสาร์จำพวกที่บินได้ ซึ่งกลายมาเป็นบรรพบุรุษของนกในทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม มีนักวิทยาศาสตร์บางส่วนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เช่น ศาสตราจารย์เดวิด มาร์ทิลล์ แห่งมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธบอกว่า “ไดโนเสาร์มีความหลากหลายของสายพันธุ์สูงตลอดยุคครีเทเชียส แม้แต่ในช่วงที่ผืนทวีปต่าง ๆ เริ่มแตกแยกออกเป็นผืนแผ่นดินขนาดเล็กลง ทั้งมีหลักฐานยืนยันว่าไดโนเสาร์ยังคงมีความหลากหลายอยู่ในปลายยุคครีเทเชียส ก่อนที่อุกกาบาตยักษ์จะพุ่งชนโลกไม่นาน”

ที่มา – http://www.bbc.com/thai/38429105

 

 

Rate Us

Rate our Website !!

Links

SDalumni PTAD St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-652-7477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School