คาดดาวพลูโตเกิดจากดาวหางนับพันล้านดวงรวมตัวกัน

 

ดาวพลู

     แม้ปัจจุบันวงการดาราศาสตร์ไม่นับว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แต่ก็ยังคงมีปริศนาเกี่ยวกับกำเนิดที่ลึกลับของดาวเคราะห์แคระดวงนี้อยู่ ซึ่งล่าสุดพบความเป็นไปได้ว่าดาวพลูโตอาจเกิดจากดาวหางจำนวนมหาศาลกว่า 1 พันล้านดวงซึ่งชนและรวมตัวเข้าด้วยกัน

นักดาราศาสตร์จากสถาบันวิจัยตะวันตกเฉียงใต้ (SwRI) ในรัฐเทกซัสของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังจะตีพิมพ์ผลการศึกษาดังกล่าวลงในวารสาร Icarus ระบุว่า ผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของดาวพลูโต ซึ่งได้จากยานสำรวจนิวฮอไรซันส์ (New Horizons) มีความคล้ายคลึงกันอย่างยิ่งกับองค์ประกอบของดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ซึ่งยานสำรวจอวกาศโรเซตตา (Rosetta) ได้ตรวจสอบมา

ดร. คริสโตเฟอร์ เกลน นักวิจัยผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้บอกว่า “การที่ดาวพลูโตและดาวหางดังกล่าวมีองค์ประกอบเป็นไนโตรเจนสูงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ไม่น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญ โดยนอกจากดาวพลูโตจะมีไนโตรเจนในบรรยากาศสูงถึง 98% แล้ว ยังมีธารไนโตรเจนแข็งที่เคลื่อนตัวได้เหมือนธารน้ำแข็งบนโลกอีกด้วย”

ผลการคำนวณปริมาณไนโตรเจนของดาวพลูโตทั้งหมด พบว่าเทียบเท่ากับปริมาณไนโตรเจนจากดาวหางในแถบไคเปอร์ (Kuiper belt) ราว 1 พันล้านดวง ซึ่งดาวหางประเภทนี้รวมถึงดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ที่ใช้เปรียบเทียบในการศึกษาครั้งนี้ด้วย ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่า ดาวพลูโตมีกำเนิดมาจากการสะสมมวลสารปริมาณมากที่ได้จากดาวหางซึ่งชนและรวมตัวเข้าด้วยกัน

“แนวคิดนี้อาจทำให้เราเรียกดาวพลูโตได้ว่าเป็น “ดาวหางยักษ์” ดวงหนึ่ง ทั้งยังช่วยอธิบายได้ว่า ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จำนวนมากที่ควรจะพบบนดาวพลูโตนั้นหายไปไหนเสียหมด โดยแนวคิดดาวหางยักษ์ของเราชี้ว่า คาร์บอนมอนอกไซด์น่าจะถูกแช่แข็งอยู่ที่ใต้พื้นผิวของดาวก็เป็นได้” ดร. เกลนกล่าว

 

ที่มา : https://www.bbc.com/thai/features-44312113

Rate Us

Rate our Website !!

Links

SDalumni PTAD St.John Bosco's Bicentenary SAVIO ESPRESSO

CONTACT US

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
1526 ถนน เพชรบุรีตัดใหม่ แขวง มักกะสัน เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : [email protected]
Tel. 02-652-7477-80 Fax. 02-652-7777
Saint Dominic School