Friday
29 Julการค้นพบก๊าซฮีเลียมและความสำคัญ
เรื่องราวเกี่ยวกับแก๊สฮีเลียมที่รู้จักกันทั่วโลกมีเพียงแค่บอลลูน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแหล่งทรัพยากรแก๊สฮีเลียมขนาดใหญ่ที่มีมากกว่า 260 ล้านแกลลอน มันตั้งอยู่ใต้ Tanzania ในประเทศแอฟริกาตะวันออก ด้วยปริมาณของแก๊สฮีเลียมที่มีมากเช่นนี้สามารถใช้ตามความต้องการของโลกได้ถึงประมาณ 7 ปี
นักวิจัยประกาศการค้นพบครั้งนี้ไว้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ the Goldschmidt Conference ในโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น
แก๊สฮีเลียมนั้นถูกใช้มากกว่าแค่ที่จะทำให้บอลลูนนั้นลอยตัว แก๊สนี้ยังมีความสำคัญในทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย มันเป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบความเย็นของเครื่อง MRI ที่ใช้ในทางการแพทย์ แก๊สฮีเลียมที่ใช้งานเหล่านี้ไม่ได้มาจากชั้นบรรยากาศ มแต่มาจากใต้พื้นดิน
ธาตุรวมตัวกันอยู่ใต้ดินในระหว่างที่มีการคายรังสีของธาตุบางกลุ่มเช่น ยูเรเนียม แก๊สฮีเลียมจะถูกเก็บไว้ในหินเหล่านั้น มันสามารถที่จะหลุดออกไปรอบหินที่เกิดการหลอมได้จากลาวา เมื่อมันไปอยู่บนพื้นผิว แก๊สฮีเลียมจะหลุดออกไปชั้นบรรยากาศได้อย่างง่ายดาย และเมื่อมันเกิดเช่นนั้น มันก็จะหลุดออกไปอย่างถาวร นี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แก๊สนี้หาได้ยากบนโลกนี้
แหล่งทรัพยกรแก๊สฮีเลียมที่รู้จักกันก่อนหน้านั้นถูกค้นพบโดยบังเอิญในระหว่างทำการค้นหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ เพราะว่าฮีเลียมนั้นสำคัญสำหรับการสำรวจค้นอวกาศและทางการทหาร รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำการสะสมและเก็บแก๊สเอาไว้ ซึ่งมันเป็นแหล่งทรัพยากรฮีเลียมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แต่แหล่งทรัพยากรนี้กำลังจะหมดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนแก๊สฮีเลียม สิ่งนี้จะก่อให้เกิดปัญหากับทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ การค้นพบแหล่งทรัพยากรใหม่ในครั้งนี้อาจจะช่วยเราได้เป็นอย่างมาก
Diveena Danabalan นักธรณีวิทยาจาก Durham University ในประเทศอังกฤษ เธอและทีมวิจัยของเธอได้ค้นพบแหล่งทรัพยากรแก๊สฮีเลียมใหม่ พวกเขาใช้ข้อมูลว่า แก๊สฮีเลียมนั้นสะสมอยู่บนโลกได้อย่างไร พวกเขายังทำการจำลองข้อมูลของพื้นที่ใต้ดินที่ใช้ในการจับแก๊สอีกด้วย นั่นทำให้ทีมวิจัยพบห้าจุดใน Tanzania ที่มีน้ำและแก๊สฮีเลียมผุดบนพื้นผิวของโลกจากแหล่งทรัพยากรฮีเลียมที่อยู่ใต้ดิน
นักวิจัยทำการทำนายว่า พวกเขาจะสามารถหาแหล่งทรัพยากรฮีเลียมอื่นๆ ได้มากกว่านี้ในอนาคต และนั่นจะเป็นการช่วยเหลือโลกจากความต้องการในการใช้แก๊สฮีเลียม
ที่มา:
E. Conover. “The newest elements finally have names.” Science News for Students. June 8, 2016.
A. Grant. “Year in review: Big stride for superconductivity.” Science News. Vol. 188, December 26, 2015, p. 25.
C. Crockett. “Big exoplanet may be surrounded by helium.” Science News, June 21, 2015.
S. Ornes. “Helium: Not so super after all.” Science News for Students. November 2, 2012.
Original Meeting Source: D. Danabalan et al. New high-grade helium discoveries in Tanzania. Goldschmidt Conference, Yokohama, Japan, June 28, 2016.