Monday
1 Augการดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้นมีประโยชน์ในการควบคุมอาหาร
สำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดการบริโภคน้ำตาล โซเดียมและไขมันอิ่มตัว น้ำเปล่าอาจจะเป็นสิ่งที่แพทย์ควรเขียนลงไปในใบสั่งยา
Credit: © ampyang / Fotolia
การศึกษาใหม่ที่ได้ทำการวิจัยถึงพฤติกรรมการบริโภคของประชากรชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ จำนวนมากกว่า 18,300 คน พวกเขาพบว่า คนส่วนใหญ่ที่ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่มากขึ้น (เช่น น้ำก๊อก, น้ำจากตู้น้ำทำความเย็น, หรือน้ำเปล่าจากขวด) สามารถลดปริมาณพลังงานรวมทั้งหมดที่ได้รับจากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน ที่มักได้รับจากไขมันอิ่มตัว น้ำตาล โซเดียม และคอเลสเตอรอล
จากเอกสารการเผยแพร่ผลงานของมหาวิทยาลัย University of Illinois kinesiology และ community health ของศาสตราจารย์ Ruopeng An ได้บันทึกไว้ว่า “คนที่ดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้นวันละ 1-3 แก้วต่อวัน สามารถลดพลังงานรวมทั้งหมดที่ได้จากการรับประทานอาหารลงได้ 68-205 แคลลอรี และลดปริมาณโซเดียมที่ได้รับลงได้ 78 – 235 มิลลิกรัม นอกจากนี้พวกเขายังบริโภคน้ำตาลน้อยลง 5-18 กรัมต่อวัน และลดปริมาณการบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอล 7-21 มิลลิกรัมต่อวัน”
An ได้กล่าวว่า “ผลของการดื่มน้ำเปล่าที่มีต่อการควบคุมการบริโภคนั้นมีความคล้ายคลึงกัน โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ระดับการศึกษาและรายได้ และยังไม่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวอีกด้วย การค้นพบนี้ได้ชี้ให้เห็นว่ามันอาจจะเป็นหลักฐานที่เพียงพอที่จะออกแบบและนำไปสู่โภชนาการที่ครอบคลุมระดับนานาชาติ และการพัฒนาเป็นโครงการทางการศึกษาที่ส่งเสริมการดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง ซึ่งในขณะนี้กลุ่มประชากรที่หลากหลายได้บริโภคเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงเหล่านี้โดยปราศจากการสร้างความตระหนักถึงผลที่จะได้รับจากการบริโภค อาทิเช่น การให้ข้อมูลบนฉลากหรือการสร้างกลยุทธ์เพื่อให้ข้อมูลในการบริโภค”
โดยศูนย์ National Center for Health Statistics ได้ทำการสำรวจข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึง 2012 ด้วยแบบทดสอบ National Health and Nutrition Examination Survey ผู้เข้าร่วมทดสอบได้ถูกถามถึงอาหาร เครื่องดื่มและของกินอื่นๆทั้งหมดที่พวกเขาได้บริโภคเข้าไปตลอดช่วงการศึกษา 2 วันเต็มที่เว้นระยะห่างกัน 3 – 10 วัน
ปริมาณน้ำเปล่าที่แต่ละคนได้ดื่มเข้าไปถูกคำนวณเป็นร้อยละ โดยคำนวณจากน้ำที่ได้รับจากทั้งอาหารและเครื่องดื่มในแต่ละวันรวมกัน เครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลหรือรสหวาน อาทิเช่น ชาดำ ชาสมุนไพร และกาแฟ ที่ถือว่าไม่ใช่แหล่งของน้ำเปล่า แต่ในการคำนวณของ An ได้รวมเอาปริมาณน้ำของเครื่องดื่มเหล่านี้เข้าไปด้วยในการศึกษาปริมาณน้ำทั้งหมดที่ผู้เข้าร่วมได้ดื่มเข้าไปทั้งหมด
โดยเฉลี่ย ผู้เข้าร่วมดื่มน้ำเปล่าประมาณ 4.2 แก้วต่อวัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละมากกว่า 30% ของปริมาณน้ำทั้งหมดที่ได้บริโภคต่อวัน พลังงานที่ผู้เข้าร่วมได้รับจากการบริโภคโดยเฉลี่ยเท่ากับ 2,157 แคลลอรี ซึ่งรวมพลังงานจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล 125 แคลลอรี และพลังงานจากอาหารที่ไม่จำกัดตามความต้องการของผู้บริโภคอีก 432 แคลลอรี ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ อาหารที่มีพลังงานสูง(calorie-dense foods) อย่างเช่น ของหวาน ขนมอบ/ขนมปิ้งรสหวานที่ทำด้วยแป้งหมี่ และขนมขบเคี้ยวที่หลากหลาย แต่ไม่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ
ในการบริโภคน้ำเปล่าต่อวันของผู้เข้าร่วมที่เพิ่มขึ้นเพียง 1% (น้อยแต่มีนัยสำคัญทางสถิติ) ได้มีความเชื่อมโยงกับการได้รับพลังงานจากการบริโภคต่อวันลดลง 8.6 แคลลอรี อีกทั้งยังพบการลดลงของปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่ได้รับจากการบริโภคของผู้เข้าร่วม และลดพลังงานที่ได้จากอาหารที่บริโภคตามความต้องการที่อุดมไปด้วยไขมัน น้ำตาล โซเดียม และคอเลสเตอรอล
ในขณะที่ An ยังได้ค้นพบว่า การลดลงเหล่านี้ยังพบมากในเพศชาย ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยกลางมากกว่า ซึ่งการลดลงของปริมาณพลังงานที่ได้รับในระดับที่มากกว่านี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารต่อวันของกลุ่มคนทั้งสามกลุ่มนี้มีมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ
การศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal pf Human Nutrition and Dietetics
ที่มา https://www.sciencedaily.com/releases/2016/03/160301174759.htm
เอกสารอ้างอิง R. An, J. McCaffrey.Plain water consumption in relation to energy intake and diet quality among US adults, 2005-2012.Journal of Human Nutrition and Dietetics, 2016; DOI:10.1111/jhn.12368