Friday
2 Sepดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะคล้ายโลกที่อยู่ใกล้โลกที่สุด
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเราที่สุดคือ พร็อกซิมา เซนทอรี (Proxima Centauri) ห่างจากดวงอาทิตย์เราเพียง 4.25 ปีแสงไปทางกลุ่มดาวครึ่งคนครึ่งม้า มันเป็นดาวแคระแดงที่มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ของเรามาก
ล่าสุด ทีมนักดาราศาสตร์จาก Queen Mary University ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษค้นพบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวพร็อกซิมา เซนทอรี โดยดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลราว 1.3 เท่าของโลก,โคจรรอบดาวฤกษ์ครบรอบทุก 11.2 วันและที่สำคัญคือโคจรด้วยระยะห่างจากดาวฤกษ์พอที่น้ำบนดาวเคราะห์จะอยู่ในสภาพของเหลวได้
มันมีชื่อว่า พร็อกซิมา เซนทอรี บี (Proxima Centauri b)
การค้นพบนี้อาจเติมเต็มความฝันของนักเขียนนิยายหรือแม้แต่นักดาราศาสตร์ที่ต้องการจะส่งยานสำรวจระบบดาวฤกษ์อื่นๆมาโดยตลอด
โปรเจคต์ Breakthrough Starshot ที่จะทำเรือใบสำรวจอวกาศด้วยการยิงแสงเลเซอร์ไปยังเรือใบจนกระทั่งมันมีความเร็วสูงถึง 60,000 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งจะใช้เวลานานกว่า 20 ปีเพื่อไปให้ถึงดาวพร็อกซิมา เซนทอรี และอาจทำการสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดังกล่าว
งานวิจัยนี้ได่รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2016 แต่ตัวงานเริ่มมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2016 เมื่อนักวิจัยวางแผนจะมองหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะรอบพร็อกซิมา เซนทอรี โดยใช้หอดูดาว European Southern Observatory (ESO) ในประเทศชิลี ด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อว่า HARPS (High Accuracy Radial velocity Planet Searcher) ซึ่งเป็นเครื่องสเปกโตรกราฟความละเอียดสูง
พวกเขาใช้เวลาสังเกตการณ์ราวๆ 10คืน แต่ละคืนใช้เวลาราว 20นาทีเก็บข้อมูลจนสามารถวิเคราะห์และค้นพบได้ในที่สุด
แม้ว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้จะอยู่ห่างจากดาวฤกษ์จนพื้นผิวของมันมีน้ำในรูปของเหลวได้ แต่ปัจจัยอื่นๆอาจทำให้มันไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เนื่องจากมันอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากอาจทำให้เกิด tidal lock ส่งผลให้มันหันด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์ตลอดเวลาทำให้ด้านหนึ่งร้อนจัดและอีกด้านเย็นจัดตลอด , บางทีดาวฤกษ์อาจปลดปล่อยรังสีเอ็กซ์ที่รุนแรงออกมาใส่ดาวเคราะห์ได้ซึ่งถ้าดาวเคราะห์ดวงนี้ไม่มีชั้นบรรยากาศที่เหมาะสมพอจะปกป้องสิ่งมีชีวิตไว้ได้
ตอนนี้นักวิจัยหวังว่าดาวเคราะห์ดวงนี้จะผ่านมาตรงหน้าดาวฤกษ์ของมันพอดี เพราะระหว่างที่ผ่าน(transit) นักวิจัยจะสามารถวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้ได้จากแสงดาวฤกษ์ที่เดินทางผ่นชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์ดวงนั้นมายังโลก แม้โอกาสที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ต่ำมาก แต่นักวิจัยบางส่วนก็เฝ้าติดตามสัญญาณการผ่านของดาวเคราะห์ดวงนี้เพื่อนำมาวิเคราะห์อยู่
ที่มา: http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2618-earth-sized-planet-around-nearby