Wednesday
2 Novนักดาราศาสตร์ทำแผนที่ไฮโดรเจนทั่วกาแล็กซี
นักดาราศาสตร์นานาชาติช่วยกันสร้างแผนที่แสดงการกระจายตัวของอะตอมไฮโดรเจนทั่วท้องฟ้าด้วยข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ Effelsberg และ กล้องโทรทรรศน์วิทยุหอดูดาว Parkes ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆของโลก
โครงการดังกล่าวมีชื่อว่า HI4PI เป็นการเก็บข้อมูลไฮโดรเจนซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่มากที่สุดในเอกภพและเป็นองค์ประกอบของดาวฤกษ์
งานนี้ไม่ใช่งานง่ายเพราะต้องเก็บข้อมูลถึงหมื่นล้านจุด นานนับหลายพันชั่วโมงและต้องกำจัดสัญญาณรบกวนจากบนโลกมากมายทั้งจากคลื่นวิทยุจากสถานีต่างๆ และจากการทหาร แต่ผลที่ได้นั้นน่าสนใจมาก แก๊สไฮโดรเจนถูกแสดงออกในรูปเส้นสายอันสวยงาม
สีสันต่างๆในรูปแสดงถึงการเคลื่อนไหวของไฮโดรเจน(ถ้าพุ่งเข้าหาโลกเราจะปรากฏเป็นสีม่วงและน้ำเงิน แต่ถ้าพุ่งออกจะแสดงด้วยสีเขียวและส้ม) ส่วนความสว่างแสดงถึงปริมาณไฮโดรเจน
แถบสว่างตรงกลางคือแนวของทางช้างเผือกที่พาดผ่านท้องฟ้า ส่วนแสงด้านล่างขวาคือกาแล็กซีเมฆแม็กเจนแลนใหญ่และเล็ก จะเห็นได้ว่ามีกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ปรากฏโดยรอบ ส่วนกาแล็กซีแอนโดรเมดาและกาแล็กซีไทรแองกูลัม จะปรากฏเป็นวงรีสีม่วงเล็กๆอยู่ด้านซ้ายใต้เส้นแนวทางช้างเผือกเล็กน้อย
ที่มา : http://www.narit.or.th/