Thursday
8 Decดาวเคราะห์กำเนิดใหม่จากดาวฤกษ์ 3 ระบบ
นักดาราศาสตร์สามทีมใช้อุปกรณ์ชื่อ SPHERE (Spectro-Polarimetric High-contrast Exoplanet Research) ของกล้องโทรทรรศน์ Very Large Telescope ที่ประเทศชิลี พบจานฝุ่นและแก๊สที่เรียกว่า protoplanetary disk วนอยู่รอบๆดาวฤกษ์เกิดใหม่สามระบบ
ภาพซ้ายสุดคือ ดาวฤกษ์ HD 97048 อยู่ห่างจากโลกเรา 500 ปีแสง ที่ว่างที่เห็นเป็นชั้นๆคาดว่าเกิดจากระบบดาวเคราะห์ขนาดเล็กกว่าดาวพฤหัสฯ
ภาพกลางคือ ดาวฤกษ์ HD 135344B นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบกลไกที่ทำให้ลักษณะโครงสร้างรูปเกลียวอย่างที่สังเกตเห็น แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ที่อยู่รอบๆ
ภาพขวาสุดคือ ดาวฤกษ์ RX J1615 ห่างจากโลกเรา 600 ปีแสง มีมวลราวๆดวงอาทิตย์ของเรา แต่มีอายุเพียง 1.6 ล้านปีเท่านั้น
SPHERE เป็นเครื่องตรวจจับรังสีอินฟราเรดและแสงสีแดง โดยใช้ coronagraph เพื่อบังแสงจากดาวฤกษ์แล้วใช้เทคนิคที่เรียกว่า adaptive optics เพื่อลดความแปรปรวนจากชั้นบรรยากาศ แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์รอบๆดาวฤกษ์ทำให้โครงสร้างของ protoplanetary disk มีลักษณะเป็นเกลียว,ช่องว่างและวงแหวน ซึ่งนักวิจัยสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้แบบเรียลไทม์ ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พยายามเก็บข้อมูลระบบในลักษณะนี้ให้มากขึ้นและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์เกิดใหม่ทำให้เกิดโครงสร้างที่น่าสนใจนี้ได้อย่างไร
ที่มา: http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2728-planet-forming-disks-revealed