Tuesday
31 Janระวังอะฟลาทอกซินในอาหารแห้ง
ปัจจุบันอันตรายจากการกินอาหารของคนเรามีมากขึ้นกว่าเดิม แม้แต่วัตถุดิบทางการเกษตรอย่าง ถั่วลิสง กุ้งแห้ง ข้าวโพด กระเทียม ที่หลายคนมองว่าเป็นวัตถุดิบธรรมดา มีความปลอดภัย เพราะเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติซึ่งก็จริง แต่รู้หรือไม่ว่าหากการเก็บรักษาวัตถุดิบเหล่านี้เป็นไปอย่างไม่เหมาะสม อาจจะก่อเกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ สารพิษที่ว่าคือสาร “อะฟลาทอกซิน” สารก่อมะเร็งที่มีอันตรายมาก
องค์การอนามัยโลก กำหนดให้สารอะฟลาทอกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง โดยปริมาณเพียง 1 ไมโครกรัมสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรียและทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ หากได้รับอย่างต่อเนื่อง
สารอะฟลาทอกซินมักพบได้ในวัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาแปรรูปและเก็บอย่างไม่เหมาะสม ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์ประเภทแป้ง
2. ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง
3. เม็ดมะม่วงหิมพานต์
4. มันสำปะหลัง
5. ผักและผลไม้อบแห้ง
6. ปลาแห้ง กุ้งแห้ง กะปิ
7. มะพร้าวแห้ง
8. หัวหอมแห้ง กระเทียมแห้ง พริกแห้ง พริกไทย งาผู้ที่ได้รับอะฟลาทอกซิน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการในระยะแรก ๆ จะมาแสดงอาการเมื่อเกิดการเรื้อรังแล้ว คือ กินอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราแล้วเชื้อรานั้นสร้างสารอะฟลาทอกซิน ทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง ก่อเกิดมะเร็งตับ และอาจมีผลเสียต่ออวัยวะภายใน เช่น ระบบไต หัวใจ
การป้องกันสารอะฟลาทอกซิน
1. เลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบแห้งที่อยู่ในสภาพใหม่ บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีเชื้อรา สะอาด
2. ต้องไม่มีกลิ่นอับ ส่งกลิ่นเหม็น หรือชื้น
3. ไม่เก็บอาหารแห้งเหล่านั้นไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้
4. นำอาหารแห้งเหล่านั้นไปตากแดดจัด ๆ เพราะความร้อนจากแดดจะทำให้ความชื้นลดลงเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราแต่ถ้ามีเชื้อราแล้วต้องทิ้งอาหารเหล่านั้นเพราะการตากแดดไม่สามารถทำลายเชื้อราได้
ที่มา: http://www.thaihealth.or.th/Content/35155-ระวัง%20%60อะฟลาทอกซิน%60%20ในอาหารแห้ง.html